ปั๊มน้ำถูกใช้ทั่วโลกเพื่อจ่ายน้ำสำหรับใช้ใน อุตสาหกรรม เกษตรกรรม และที่อยู่อาศัย ปั๊มน้ำยังใช้ในการเคลื่อนย้ายน้ำเสียในโรงบำบัดน้ำเสีย ปั๊มน้ำสมัยใหม่ส่วนใหญ่มักใช้ไฟฟ้า แต่แหล่งพลังงานอื่นๆ ก็ใช้เช่นกัน เช่น เครื่องยนต์ดีเซล หรือเบนซิน ในพื้นที่ห่างไกล รวมถึงแผงโซลาร์เซลล์ที่สามารถจ่ายพลังงานให้แก้ปั๊มน้ำได้ด้วย
สำหรับการเลือกปั๊มบ้านเลือกตามการใช้งานของบ้านนั้นๆ แต่การเลือกปั๊มน้ำสำหรับอาชีพเกษตรกร ต้องคำนึงถึงปัจจัยอีกหลายอย่าง เพื่อเลือกปั๊มน้ำเกษตรให้ประหยัดงบ คือ
อัตราการไหล และแรงม้า
วัสดุที่ทนต่อสภาพอากาศที่จำเป็นสำหรับการใช้งานแบบเปิดโล่ง
ประเภทมอเตอร์ หรือ เชื้อเพลิงที่ใช้ : ไฟฟ้า แก๊ส ดีเซล ไฮโดรลิค หรือแมนนวล
กำลังของปั๊ม ตามการใช้งานที่ต้องการ
การเลือกขนาดปั๊มน้ำ
ความเหมาะสมของสถานที่ตั้ง เพื่อความสะดวก ปลอดภัย ใช้งานยาวนาน
สิ่งที่ควรทำก่อนการติดตั้ง เพื่อทำให้ปั๊มน้ำใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ
ศึกษาข้อมูลและคู่มือก่อนการติดตั้งให้ดี
การติดตั้ง - ซ่อม ควรทำโดยช่างที่มีความรู้ ความชำนาญ
ตัดไฟฟ้าก่อนทำการติดตั้ง เพื่อความปลอดภัย
ติดตั้งเบครเกอร์ เพื่อความปลอดภัยและสะดวกในการซ่อมบำรุง
สายไฟต้องรองรับกระแสไฟฟ้าที่ใช้กับปั๊มได้
ต้องติดตั้งเข้ากับถังเก็บน้ำ ( การต่อตรงท่อประปาผิดกฏหมาย )
ติดตั้งในที่ร่ม ป้องกันการโดนฝนหรือน้ำท่วมขัง
ติดตั้งให้ห่างจากผนังอย่างน้อย 10 ซม. และอยุ่บนฐานตั้ง เพื่อไม่ให้มีน้ำขัง และให้อากาศถ่ายเทได้ รวมถึงง่ายต่อการ ซ่อมบำรุง
ติดตั้งท่อน้ำควรระวังเรื่องเศษวัสดุและสิ่งสกปรกต่าง ๆ เข้าไปในท่อ ซึ่งจะทำให้การทำงานขัดข้อง
ข้อควรระวัง
หลีกเลี่ยงการใช้สูบของเหลวที่ไม่ใช่น้ำ เช่น น้ำมัน, สารเคมี, โคลน, และทราย
ในการติดตั้งปั๊มน้ำควรต่อสายดินด้วย
หลีกเลี่ยงการใช้ท่ออ่อน , สายยางสำหรับท่อดูดหรือท่อจ่าย เพื่อป้องกันท่อตีบหรือบิดงอ
ไม่ควรใช้งานเกินกำลังหรือประสิทธิภาพของปั๊มน้ำที่กำหนดมา เนื่องจากปั๊มอาจจะเกิดความเสียหายในการใช้งานได้
หลีกเลี่ยงการให้ปั๊มโดนน้ำหรือฝนสาด เนื่องจากจะทำให้อายุการใช้งานของปั๊มน้ำสั้นลง
ท่อดูดจะต้องใส่ฟุตวาล์ว (หัวกะโหลก) เพื่อไม่ให้น้ำไหลย้อนกลับจนต้องทำการล่อน้ำใหม่ และอาจจะใส่ตัวกรองน้ำร่วมด้วย ปลายท่อดูดที่จมอยู่ในน้ำควรห่างจากก้นบ่อและผนังข้างบ่อไม่น้อยกว่า 1.5 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางท่อดูด
แหล่งเก็บน้ำ น้ำจะต้องไม่แห้ง ซึ่งจะทำให้ปั๊มน้ำเกิดความเสียหายได้
หลีกเลี่ยงการต่อท่อหลายทาง หรือมีข้อต่อเยอะ เนื่องจากจะสูญเสียอัตรากำลังการส่งน้ำได้
ปั้มน้ำที่นิยมสำหรับชาวสวนหรือเกษตรกร
นิยมใช้แบบปั๊มหอยโข่ง ซึ่งอาจขับด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าหรือเครื่องยนต์ตามความเหมาะสม เช่น ปั๊มน้ำขับด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ขนาด 2HP(แรงม้า) จะให้น้ำเฉลี่ย 25,000-30,000 ลิตร/ชั่วโมง
ปั๊มน้ำขับด้วยเครื่องยนต์ แบบใช้เครื่องยนต์เบนซิน ขนาด 5-7HP(แรงม้า) หรือแบบใช้เครื่องยนต์ดีเซลขนาด 8-12HP (แรงม้า) จะให้น้ำเฉลี่ย 20,000-50,000 ลิตร/ชั่วโมง แล้วแต่อัตราเร่ง
ปั๊มหอยโข่งทั้งหมดมีใบพัดที่ขับเคลื่อนด้วยเพลา โดยปกติแล้วจะอยู่ที่ 1750 หรือ 3500 รอบต่อนาที
พิจารณาจากอัตราการไหล ซึ่งบอกปริมาณน้ำ(Quantity – Q) ต่อหน่วยเวลาและแรงดันหรือแรงส่งน้ำ (Head – H) จะบอกความสูงเป็นเมตร ทั้ง Qและ H จะเป็นตัวกำหนดกำลัง(แรง)ของเครื่องสูบน้ำนั้น ๆ ซึ่งอาจจะบอกเป็นวัตต์(W)กิโลวัตต์(KW) หรือแรงม้า(HP) ตัวเลขดังกล่าวจะบอกไว้บน Name Plate บนตัวเรือนปั๊ม
สำหรับการเลือกขนาดของปั๊มน้ำ ให้ความสำคัญ 2 ส่วนคือ ปริมาณการจ่ายน้ำ(Q) และ แรงดันน้ำ(H)
ปริมาณการจ่ายน้ำ(Q): คือปริมาณน้ำที่ต้องจ่ายในแต่ละครั้ง เช่นถ้าต้องการจ่ายน้ำครั้งละ1โซน Q = 6 ลบ.ม./ชม.
แรงดันน้ำ(H): ในพื้นที่ขนาดเล็ก ราบลุ่ม และใช้ท่อเมนไม่เกิน 100 เมตร จะต้องการแรงดันน้ำ H = 25 เมตร
ในพื้นที่ซึ่งระยะท่อเมนยาวกว่าปกติ คือมากกว่า 100 เมตร จะต้องเพิ่มค่าแรงดันมาตรฐาน(H=25)ขึ้นอีกเท่ากับ 4 เมตรทุกๆระยะท่อเมน 100 เมตร เช่น ระยะท่อเมน 300 เมตร ดังนั้นแรงดันน้ำที่ต้องการ(H) = 25 + (4*300/100) = 25+12 = 37 เมตร
ในพื้นที่เป็นเนินลาดชัน จะต้องเพิ่มค่าแรงดันมาตรฐาน(H=25)ขึ้นอีกเท่ากับระดับความสูงระหว่างพื้นที่กับปั๊มน้ำ เช่น พื้นที่เป็นเนินสูงขึ้น 5 เมตร ดังนั้นแรงดันน้ำที่ต้องการ(H) = 25+5 = 30 เมตร
หมายเหตุ 1.ในการเลือกปั๊มน้ำควรเพิ่มค่าแรงดันน้ำ(H)ขึ้นอีก ~30% เพื่อชดเชยแรงดันน้ำที่สูญในระบบ(Head Loss)
หน่วยวัดกำลังของมอเตอร์มี 2 ลักษณะ คือ HP(แรงม้า) และ Watt(วัตต์) (โดย 1 HP = 750 W.)
ข้อมูลไฟฟ้า จะต้องดูว่าใช้ไฟ กี่โวลต์ (V) ใช้กระแสไฟกี่แอมแปร์(A) ใช้ไฟ 1 เฟตหรือไฟ 3 เฟส เพื่อเลือกเครื่องสูบที่ใช้ไฟฟ้าให้ตรงกับระบบไฟฟ้าของของสถานที่ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ
การคำนวณแบบละเอียดและตัวอย่างการคำนวณเพื่อหาขนาดปั๊มน้ำเพื่อใช้ในสวนเกษตรผสมผสาน มีการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ร่วมกัน คลิก!!
นอกจาก ปั้มหอยโข่งแล้ว ปั๊มที่ชาวเกษตรนิยมใช้กันจะมีดังนี้
1. ปั๊มน้ำซับเมอร์ส (Submersible Pump) จุดเด่นของปั๊มบาดาลคือ “ปั๊มบาดาล” เป็นปั๊มที่มีโครงสร้างแน่นหนา ผลิตจากวัสดุที่แข็งแรงทนทาน เพื่อป้องกันความเสียหายจากการใช้งาน และลดความเสี่ยงในการรั่วซึม “พร้อมกับมาตรฐานจาก International Protection Standard ระดับ IP68 ที่สามารถที่จะป้องกันฝุ่นและมีความสามารถที่จะป้องกันการแทรกซึมของน้ำจากการแช่ตัวอุปกรณ์ในน้ำได้เป็นอย่างดี รวมถึงมีใบพัดสะบัดทราย ทั้งแบบสแตนเลสและแบบ Noryl“
2. ไดโว่ ปั๊มจุ่ม ปั๊มแช่ซึ่งเป็นปั๊มประเภทเดียวกัน โดยการนำตัวปั๊มลงไปจุ่มไว้ในน้ำ โดยไดโว่ ปั๊มจุ่ม ปั๊มแช่นี้ประกอบด้วย 2 ส่วน คือส่วนปั๊ม และส่วนมอเตอร์ ส่วนปั๊มจะมีใบพัด จำนวนหลายใบ พร้อมทั้งมีแกนใบพัดโผล่ออกมาเพื่อใช้ต่อเชื่อมกับส่วนมอเตอร์ เมื่อน้ำถูกสูบเข้ามาในเรือนปั๊มใบพัดแต่ละใบจะผลิตแรงดันเพื่อส่งน้ำออกไป ยิ่งมีจำนวนใบพัดมากเท่าไร ก็จะยิ่งส่งน้ำได้สูงขึ้นเท่านั้น
ข้อมูลเพิ่มเติม
Tel. 02-292-1067-70
Youtube : Leopump ประเทศไทย
Line Official : @Leopump
Facebook : LEOpumpThailand
Commentaires