top of page
admin22387

ความแตกต่างและข้อดีข้อเสียของไฟ AC และ DC

Updated: Oct 4


AC DC
AC DC

ไฟ AC และ DC ต่างกันอย่างไร ? และความแตกต่างและข้อดีข้อเสียของไฟ AC และ DC

ไฟฟ้ากระแสตรง (direct current: DC) คือ ไฟฟ้าที่มีทิศทางการไหลเพียงทิศทางเดียวจากขั้วลบของแหล่งกำเนิดไฟฟ้า ผ่านอุปกรณ์ไฟฟ้า แล้วกลับเข้าไปยังขั้วบวกของแหล่งกำเนิดไฟฟ้าอีกครั้ง


ไฟฟ้ากระแสสลับ (alternating current: AC) คือ ไฟฟ้าที่มีทิศทางการไหลไปในทางกลับกัน กล่าวคือ กระแส มันไม่มีขั้ว มีทิศทางการไหลที่กลับไปกลับมาอยู่ตลอดเวลา


ความแตกต่างไฟ AC DC
ความแตกต่างของไฟ AC DC

คุณสมบัติของไฟฟ้ากระแสสลับ(AC)

1. สามารถส่งไปในที่ไกลได้ดี กำลังไม่ตก

2. สามารถแปลงแรงดันให้สูงขึ้นหรือต่ำ ลงได้ตามต้องการโดยการใช้หม้อแปลง (Transformer)


คุณสมบัติของไฟฟ้ากระแสตรง(DC)

1. กระแสไฟฟ้าไหลไปทิศทางเดียวกันตลอด

2. มีค่าแรงดันหรือแรงเคลื่อนเป็นบวกอยู่เสมอ

3. สามารถเก็บประจุไว้ในเซลล์ หรือแบตเตอรี่ได้


ประโยชน์ของไฟฟ้ากระแสสลับ(AC)

1. ใช้กับระบบแสงสว่างได้ดี

2. ประหยัดค่าใช้จ่าย และผลิตได้ง่าย 3. ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการกำลังมาก ๆ 4. ใช้กับเครื่องเชื่อม 5. ใช้กับเครื่องอำนวยความสะดวกและอุปกรณ์ไฟฟ้าได้เกือบทุกชนิด


ประโยชน์ของไฟฟ้ากระแสตรง(DC)

1. ใช้ในการชุบโลหะต่าง ๆ 2. ใช้ในการทดลองทางเคมี 3. ใช้เชื่อมโลหะและตัดแผ่นเหล็ก 4. ทำให้เหล็กมีอำนาจแม่เหล็ก 5. ใช้ในการประจุกระแสไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่ 6. ใช้ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ 7. ใช้เป็นไฟฟ้าเดินทาง เช่น ไฟฉาย



ปั๊มลีโอ AC DC
ปั๊มลีโอ AC DC



ไฟ AC กับ DC ต่างกันอย่างไร ?

การที่เราจะเอาไฟบ้านไปชาร์ตมือถือ หรือคอมพิวเตอร์ต่างๆ เราจำเป็นต้องใช้อแดปเตอร์เพื่อแปลงไฟกระแสฟ้าสลับ (AC) ไปเป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC)





ไฟ AC กับ DC ต่างกันอย่างไรนั้น เราอาจจะเห็นบางเคสที่เป็นไฟฟ้า AC เหมือนกันแต่กลับต้องใช้อแดปเตอร์แปลง ซึ่งในส่วนตรงนี้ไม่ได้หมายความว่าเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นเป็นระบบ DC แต่เหตุผลมจากแรงดันไฟฟ้า หรือ voltage ที่ต้องใช้นั้นแตกต่างกัน


ไฟฟ้ากระแสตรง และกระแสสลับ ในงานโซล่าเซลล์

ความแตกต่างและข้อดีข้อเสียของไฟ AC-DC


วิธีสังเกตุ คือ เวลาเราไปดูฉลากเครื่องใช้ไฟฟ้าถ้ามี เฮิร์ต (Hz) เช่น 50Hz 60Hz ก็คือเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าระบบ AC เพราะระบบ DC จะไม่มีความถี่แบบนี้


ปกติไฟ AC จะมีแรงดันไฟหรือ voltage ที่สูง ตัวอย่างเช่น ไฟบ้านเราจะเป็น 220V ถือว่าเป็นค่าแรงดันที่ค่อนข้างต่ำ บางทีถ้าเราเห็นตามชานเมืองที่มีเสาไฟใหญ่ๆ พวกนี้จะมีแรงดันไฟเป็นหลักหมื่น Voltage และเนื่องด้วยการเชื่อมโยงไฟฟ้าระยะไกลที่มีค่า volt สูง ไม่จำเป็นต้องใช้สายไฟขนาดใหญ่ จึงประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนตรงนี้ได้


ส่วนในระบบไฟฟ้า DC จะใช้ voltage ไม่สูงมาก เช่น 12V 24V 48V และถ้าหากไม่เกิน 30V โดยประมาณ มักจะไม่เกิดอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ แต่ถ้าเป็นระบบใหญ่ๆจะใช้ volt ที่สูงขึ้นมา เช่น 300-600V ซึ่งการติดตั้งจะต้องให้ช่างผู้ชำนาญทำ เพราะกระแส DC ที่มีค่า voltage สูงนั้น อันตรายเป็นอย่างมาก


ซึ่งในระบบโซล่าเซลล์ขนาดเล็กนั้น เรามักจะใช้ voltage ที่ต่ำ อย่าง 12V 24V เท่านั้น ถ้าหากเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นกินไฟเท่ากัน แต่ใช้แรงดันไฟ voltage ที่ต่ำ นั่นหมายความว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านั้นจะกินกระแสไฟหรือ Ampere ที่มากแทน ผลที่ตามมา คือ อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆเหล่านั้นจะต้องรับกระแสสูงๆได้ ทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าเหล่านั้นมีราคาที่แพงมากขึ้นตามไป หรือการที่เราออกแบบระบบที่ใช้ค่าแรงดันไฟฟ้า voltage ต่ำ จะยิ่งทำให้ราคาอุปกรณ์ต่างๆ เหล่านั้นสูงขึ้นนั่นเอง


dummies


  • ชนิดแผงโซล่าเซลล์ เลือกแบบไหนดี? โมโน / โพลี /หรือ อะมอร์ฟัส คลิก

  • การออกแบบระบบโซล่าเซลล์เพื่อใช้ทั้งกลางวันและกลางคืน คลิก

  • สอนการคำนวณไฟฟ้าและจำนวนแผงโซล่าเซลล์ ( Solar Cell Calculation ) คลิก

  • ระบบโซลาร์แบบ On Grid กับ Off Grid ต่างกันอย่างไร? คลิก

  • การเลือกตัว Inverter ปั๊มน้ำ , แผงโซล่าเซลล์และการเผื่อกำลังไฟฟ้า คลิก


ข้อมูลเพิ่มเติม


Tel. 02-292-1067-70

Line Official : @775ruust

Facebook : LEOpumpThailand

TikTok : Leopumpthailand

ตัวแทนจำหน่าย : https://www.leo.co.th/dealer



















Comments


bottom of page