top of page
admin22387

น้ำบาดาล คืออะไร ดื่มได้ไหม ?

Updated: Sep 18, 2024


น้ำบาดาล คืออะไร ดื่มได้ไหม
น้ำบาดาล คืออะไร ดื่มได้ไหม

น้ำบาดาลเป็นหนึ่งในแหล่งน้ำที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลายทั้งในด้านอุปโภคและบริโภค ซึ่งถือเป็นแหล่งน้ำที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ในทุกภูมิภาคทั่วโลก รวมถึงหลายท่านอาจยังไม่แน่ใจว่า "น้ำบาดาล คืออะไร ดื่มได้ไหม" น้ำบาดาล (Groundwater) คือ น้ำใต้ดินที่ถูกกักเก็บและสะสมอยู่ภายในช่องว่างและรอยแตกของชั้นหินและชั้นดินตะกอนลึกลงไปใต้พื้นดิน ซึ่งมีจุดกำเนิดจากหยาดน้ำฟ้า (Precipitations) หรือน้ำในบรรยากาศ (Atmospheric Water) ได้แก่ น้ำฝน หิมะ เมฆหมอก และไอน้ำ ที่ตกลงสู่ผืนดินจนกลายเป็นน้ำผิวดิน (Surface Water) และให้กำเนิดแม่น้ำ ลำคลอง รวมถึงมหาสมุทร และในทางกลับกันน้ำผิวดินและน้ำในดินก็สามารถระเหยกลับไปเป็นหยาดน้ำฟ้าหรือน้ำในบรรยากาศอีกครั้งเมื่อถูกแสงแดดแผดเผา ซึ่งเป็นการหมุนเวียนของน้ำในธรรมชาติที่เรียกว่า “วัฏจักรน้ำ” (Hydrologic Cycle) นั่นเอง


ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อน้ำใต้ดิน

  • ระยะเวลาในการตกลงมาของฝนหรือหยาดน้ำฟ้าชนิดต่าง ๆ

  • ความลาดชันของพื้นที่และชั้นหิน

  • ความพรุนของเนื้อดินและชั้นหินนั้น ๆ รวมถึงรูปร่าง ขนาด การวางตัวของหิน และเศษแร่ที่ประกอบตัวกันเป็นชั้นหินใต้พื้นดิน

  • ความสามารถในการยอมให้น้ำซึมผ่านของดินและชั้นหินนั้น ๆ

เนื่องจากน้ำใต้ดินมาจากการสะสมของน้ำในบรรยากาศและการไหลของน้ำบนภาคพื้นดิน น้ำบาดาลจึงเป็นแหล่งน้ำที่อาจต้องใช้เวลาในการเกิดหรือการสะสมอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานนับร้อยนับพันปีการที่มนุษย์เราสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ประโยชน์อย่างมากมายมหาศาลในทุกวันนี้ อาจเป็นสาเหตุของการสูญเสียแหล่งน้ำบาดาลไปอย่างถาวรเมื่อน้ำใต้ดินถูกสูบน้ำออกมาใช้จนหมดหรือถูกนำออกมาใช้ในปริมาณที่มากมายเกินอัตราการเติมเต็มจากธรรมชาติ ภูมิประเทศและสภาพแวดล้อมโดยรอบในบริเวณดังกล่าวอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรุนแรง เช่น การทรุดตัวลงของแผ่นดิน การแทรกซึมเข้ามาของน้ำทะเล และความแห้งแล้ง เป็นต้น


นอกจากนี้การทิ้งขยะและน้ำเสียลงสู่พื้นดินหรือลงสู่แม่น้ำลำคลองโดยตรงจากแหล่งชุมชน,โรงงานอุตสาหกรรม ,หรือจากการทำเกษตรกรรม ล้วนส่งผลต่อคุณภาพของแหล่งน้ำใต้ดิน เมื่อสารเคมีเหล่านี้ซึมลึกลงไปใต้พื้นดินจนถึงชั้นน้ำบาดาล อาจทำให้เกิดการปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อทั้งมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ในระบบนิเวศของโลกอีกด้วย



น้ำบาดาล คืออะไร ดื่มได้ไหม
น้ำบาดาล คืออะไร ดื่มได้ไหม

น้ำบาดาลดื่มได้ไหม?

กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ได้ระบุว่า “น้ำบาดาล” เป็นน้ำที่ถูกกรองตามธรรมชาติ บางแห่งมีคุณภาพน้ำดี สามารถใช้ดื่มได้ทันที แต่บางแห่งอาจจะมีปริมาณแร่ธาตุสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานน้ำดื่ม จำเป็นต้องตรวจสอบวิเคราะห์คุณภาพของน้ำบาดาล เพื่อให้ทราบวิธีปรับปรุงคุณภาพน้ำก่อนนำไปใช้ประโยชน์ใด ๆ


กรมควบคุมโรคได้ให้คำแนะนำว่า น้ำบาดาล คือ น้ำใต้ดินซึ่งอาจเกิดการปนเปื้อนของเชื้อโรคและสิ่งสกปรก เช่น กรณีที่แหล่งน้ำอยู่ใกล้จุดขยะหรือบ่อบําบัดน้ำเสีย และขยะบางประเภทอาจรวมกับน้ำแล้วซึมลงชั้นน้ำใต้ดิน หรือบางครั้งการใช้ปั๊มน้ำบาดาลสูบน้ำขึ้นมานั้น อาจเกิดการปนเปื้อนในระหว่างการเดินทางได้ ดังนั้นจึงควรต้มน้ำก่อนนำมาดื่มเสมอ (โดยเฉพาะในช่วงที่มีภาวะน้ำท่วม) และน้ำก่อนต้มนั้นควรเป็นน้ำที่ใสสะอาด ผ่านการกรองหรือแกว่งสารส้มและทําให้ตกตะกอนแล้ว นำมาต้มให้เดือดนาน 5-10 นาทีเพื่อทําลายเชื้อโรคและลดความกระด้างของน้ำ หรือหากไม่สามารถต้มน้ำดื่มได้ ให้เติมคลอรีน หรือไอโอดีน ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคและไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ใช้ในปริมาณที่เหมาะสม คือ คลอรีน 2 หยดต่อน้ำ 1 ลิตร หรือเติมไอโอดีน 5 หยดต่อน้ำ 1 ลิตร ทิ้งไว้อย่างน้อย 30 นาที และนําน้ำที่ผ่านกระบวนการทําให้สะอาดแล้วใส่ภาชนะที่สะอาด ปิดฝาให้สนิท เพื่อป้องกันการปนเปื้นของเชื้อโรคและสิ่งสกปรก หรือเราสามรถดื่มน้ำบาดาลได้โดยผ่านการกรองจากเครื่องกรองเสียก่อน เช่น เครื่องกรองน้ำระบบ RO ที่มีความละเอียดในการกรองสูง


เครื่องกรองน้ำระบบ RO (Reverse Osmosis) เป็นระบบกรองน้ำที่มีความละเอียดในการกรองสูงถึง 5 ขั้นตอน ทำงานโดยใช้เยื่อเมมเบรนในการกรองน้ำแบบออสโมซิสย้อนกลับผ่าน ซึ่งเยื่อเมมเบรนนี้ทำมาจากใยสังเคราะห์เซลลูโลสที่มีความสามารถในการกรองละเอียดถึง 0.0001 ไมครอน ทำให้สารละลายที่มีขนาด 50 – 0.0002 ไมครอน ไม่ว่าจะเป็นโลหะหนัก, สารเคมีจากปุ๋ยและยาฆ่าแมลง, ผงซักฟอกและแบคทีเรียต่าง ๆ เล็ดลอดเข้ามายังเยื่อกรองไม่ได้และจะถูกกำจัดออกจากระบบทันที น้ำที่ได้จากเครื่องกรองน้ำประเภทนี้จึงเป็นน้ำบริสุทธิ์เท่านั้น ดังนั้นไม่ว่าน้ำที่นำมากรองจะมาจากแหล่งน้ำไหนก็ตาม เครื่องกรองน้ำระบบ RO สามารถกรองให้สะอาดและดื่มได้แน่นอน

"การเริ่มต้นธุระกิจน้ำดื่ม RO คลิก "


ข้อมูลเพิ่มเติม

Tel. 02-292-1067-70

Line Official : @Leopump

Facebook : LEOpumpThailand




cr : กรมทรัพยากรน้ำบาดาล/กรมควบคุมโรค/จาปิน














Comments


bottom of page