top of page
admin22387

ทำความรู้จักกับระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิง (Fire Pump System)กันจ้า

Updated: Sep 18


ปั๊มดับเพลิง Fire Pump


ระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิง (Fire Pump System)

เป็นระบบที่มีความจำเป็นต่อสถานที่ ที่ต้องการความปลอดภัยจากอัคคีภัยอย่างเช่น แหล่งชุมชน ห้างสรรพสินค้าอาคารสูง และหน่วยงานราชการต่างๆระบบปั๊มน้ำดับเพลิงที่มีให้เลือกเหมาะกับงานหลากหลายแบบไม่ว่าจะเป็นระบบขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่


ส่วนประเภทเครื่องสูบน้ำดับเพลิงตามการติดตั้งนั้นมีด้วยกัน 2 ประเภทคือ

1. แบบแนวนอน (Horizontal) : เหมาะกับการใช้กับแหล่งเก็บน้ำที่เป็นบวก คือ แหล่งเก็บน้ำตั้งอยู่เหนือปั๊มน้ำ

ปั๊มดับเพลิงแนวนอน

ปั๊มน้ำดับเพลิง


2. แบบแนวตั้ง (Vertical Type) : การติดตั้งปั๊มดับเพลิงแนวตั้งโดยมากใช้กับแหล่งเก็บน้ำที่เป็นลบ คือ ถังเก็บน้ำอยู่ใต้ดินหรืออยุ่ต่ำกว่าปั๊มน้ำนั่นเอง

ปั๊มดับเพลิงแนวตั้ง

ซึ่งการเลือกลักษณะตามการติดตั้งนั้น ต้องคำนึงถึงระดับน้ำเริ่มต้นที่ใช้เครื่องสูบน้ำดับเพลิงดูดและจ่ายออกไปยังระบบท่อดับเพลิงด้วย ส่วนขนาดเครื่องสูบน้ำดับเพลิงตามมาตรฐานสากลนั้น มีการกำหนดขนาดของเครื่องสูบน้ำดับเพลิงได้อย่างชัดเจน ซึ่งในการเลือกใช้จะต้องเลือกให้อยู่ในขนาดที่ระบุไว้ตามตาราง


NFPA20 คือ มาตรฐานที่ใช้อ้างอิงมากที่สุดสำหรับการเลือกใช้เครื่องสูบน้ำดับเพลิงและได้รับการยอมรับทั่วโลก

ที่มา: NFPA 20 Standard for the Installation of Stationary Pumps for Fire Protection (2003)

การเลือกประเภทเครื่องสูบน้ำดับเพลิง

ในการเลือกเครื่องสูบน้ำดับเพลิงแบบนอนนั้น ระดับของแหล่งน้ำดับเพลิงจะต้องมีระดับสูงกว่าระดับท่อดูดน้ำของเครื่องสูบน้ำเนื่องจากเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินเราจะสามารถใช้น้ำได้ทันที ในกรณีที่ใช้ปั๊มดับเพลิงประเภทแนวนอนซึ่งเป็นปั๊มหอยโข่งนั้น เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าเช็ควาล์วนั้นมีปัญหาหรือเปล่าทำให้น้ำย้อนกลับไปยังแหล่งเก็บน้ำหมด ทำให้เราไม่สามารถใช้น้ำดับเพลิงได้ทันท่วงทีในกรณีที่เหิดเหตุฉุกเฉินถ้าเราสูบน้ำจากแหล่งน้ำที่อยุ่ต่ำกว่าตัวปั๊มมาใช้


ระบบปั๊มดับเพลิงแนวนอน

การติดตั้งเครื่องสูบน้ำดับเพลิงแบบแนวนอน

โดยปกติเครื่องสูบน้ำดับเพลิงแบบหอยโข่งจะเลือกใช้กับควาต้องการปริมาณน้ำดับเพลิงที่ไม่เกิน 750 แกลลอนต่อนาทีในกรณีที่มีความต้องการปริมาณน้ำดับเพลิงสูงมากกว่า 750 แกลอนต่อนาทีควรเลือกใช้เครื่องสูบน้ำดับเพลิงแบบอื่น


การติดตั้งเครื่องสูบน้ำดับเพลิงแบบแนวตั้ง


ในกรณีที่แหล่งน้ำดับเพลิงมีระดับน้ำต่ำกว่าระดับท่อดูดน้ำของเครื่องสูบน้ำดับเพลิงจะต้องทำการเลือกเครื่องสูบน้ำดับเพลิงเป็นแบบตั้ง (Vertical Type ) โดยการออกแบบและติดตั้งจะต้องมีการจัดสร้างตะแกรงกันขยะหรือเศษสิ่งของต่างๆ ที่จะเข้ามาในบ่อน้ำที่ใช้สำหรับการดูดน้ำของเครื่องสูบน้ำดับเพลิง รวมทั้งการติดตั้งตัวกรอง (Strainer) ไว้ที่ปลายของท่อดูดเสมอเครื่องสูบน้ำดับเพลิงรักษาแรงดันในระบบ (Jocky Pump) โดยปกติเป็นเครื่องสูบน้ำที่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นต้นกำลังหน้าที่ของเครื่องสูบน้ำดับเพลิงรักษาแรงดันนี้ คือการเติมน้ำทดแทนน้ำส่วนที่อาจมีการรั่วซึมออกไปจากระบบท่อน้ำดับเพลิง โดยเครื่องสูบน้ำนี้จะทำงานโดยอัตโนมัติเมื่อแรงดันภายในระบบท่อน้ำดับเพลิงลดลงจากระดับที่กำหนดไว้ และเมื่อมีการเติมน้ำอยู่ในระดับปกติแล้ว เครื่องสูบน้ำนี้จะหยุดเองโดยอัตโนมัติเช่นกัน ห้องเครื่องสูบน้ำดับเพลิงจะต้องมีเส้นทางการเข้าออกที่ปลอดภัยและสามารถเข้าได้โดยสะดวกตลอดเวลา ตำแหน่งของห้องควรจะอยู่ในพื้นที่ ที่มีการระบายอากาศได้ดี และไม่มีน้ำท่วมขัง ผนังห้องเครื่องสูบน้ำดับเพลิงจะต้องมีอัตราการทนไฟได้ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง


การติดตั้งเครื่องสูบน้ำดับเพลิงแบบแนวตั้ง

ส่วนประกอบสำคัญของปั๊มน้ำดับเพลิง


1. เครื่องสูบน้ำรักษาแรงดัน ( Jockey Pump) คือ เครื่องสูบน้ำแรงดันสูง โดยทั่วไปจะทำงานเป็นตัวควบคุมอัตโนมัติ ของปั๊มดับเพลิง ทำงานเป็นตัวควบคุมอัตโนมัติของปั๊มดับเพลิง ซึ่งหน้าที่ คือ รักษาแรงดันภายในและคอยเติมน้ำ ให้ปั๊มดับเพลิงอยุ่ตลอด เพื่อไม่ให้ปั๊มดับเพลิงเริ่มและหยุดทำงานบ่อยภสยในเวลาอันสั้น ซึ่งจะทำให้ปั๊มดับเพลิง เกิดความเสียหาย หรืออายุการใช้งานสั้นลง

2. เครื่องสูบน้ำดับเพลิง ( Fire Pump) คือ ปั๊มที่สูบน้ำปริมาณมากใช้คุ่กับเครื่องสูบน้ำรักษาแรงดัน

3. ตู้ควบคุมเครื่องสูบน้ำรักษาแรงดัน ( Jockey Pump Controller ) คือ ระบบไฟเครื่องสูบน้ำดับเพลิง

4. ตู้ควบคุมเครื่องสูบน้ำดับเพลิง ( Fire Pump Controller ) คือ ระบบไฟของเครื่องสูบน้ำดับเพลิง

5. วาล์วระบายความดัน ( Pressure Relief Valve ) คือ ตัวกระจายน้ำ



" สำหรับท่านใดสนใจข้อมูลเพิ่มเติมในการออกแบบระบบและปั๊มน้ำดับเพลิง สามารถติดต่อมาปรึกษา

หรือรับการบริการได้ที่ V V "


บริษัท ลีโอ (ประเทศไทย) จำกัด

Tel. 02-292-1067-70

website : www.Leo.co.th

Line Official : @Leopump




Comments


bottom of page