Search Results
43 items found for ""
- ปัญหาและอันตรายจากน้ำบาดาล มีอะไรบ้าง?
ปัญหาน้ำบาดาล ปัญหาและอันตรายจากน้ำบาดาล ที่พบในปัจจุบัน ถือเป็นปัญหาที่เป็นอันตรายเป็นอย่างมาก หากไม่ได้รับการบำบัดหรือผ่านการกรองก่อนที่จะนำไปอุปโภค บริโภค อาจจะส่งผลเสียต่อร่างกายทำให้เจ็บไข้ได้ป่วยกันได้เลยทีเดียว ปัจจุบันคนหันมาสนใจการใช้น้ำบาดาลจากธรรมชาติกันมากขึ้น รวมถึงมีหลายคนเข้าใจว่าน้ำบาดาลนั้นสะอาดสามารถนำมาใช้บริโภคได้เลยซึ่งไม่ถูกเสมอไป ถึงแม้ว่าน้ำบาดาลจะเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่สะอาด แต่ก็เป็นอันตรายต่อมนุษย์หากบริโภคเข้าไปเช่นกัน หากไม่ได้รับการกรองหรือบำบัดเสียก่อน ดังนั้นในปัจจุบันเราจึงนิยมติดตั้งเครื่องกรองน้ำบาดาล เพื่อทำให้น้ำสามารถนำมาใช้ในการอุปโภค บริโภคได้อย่างมั่นใจว่าปลอดภัย ปราศจากสิ่งที่อาจเกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ ดังต่อไปนี้ ปัญหาและอันตรายจากน้ำบาดาล ที่มักพบเจอกันบ่อย 1.พบซากพืช ซากสัตว์ปนอยู่ในน้ำบาดาล เนื่องจากน้ำบาดาล เป็นแหล่งน้ำที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ซึ่งในบางจุดก็อาจมีการทับทมกันของซากพืชและซากสัตว์ แน่นอนว่าจะส่งผลเสียต่อน้ำบาดาลเป็นอย่างมาก อาจทำให้น้ำบาดาลมีกลิ่น และหากมีการนำน้ำบาดาลที่ยังไม่ได้ผ่านระบบการบำบัดหรือกรองแล้ว ไปใช้ในการอุปโภค บริโภค อาจไม่ส่งผลดีต่อสุขภาพได้ 2.ปัญหาการปะปนของเศษหิน กรวด น้ำบาดาลเป็นน้ำที่เกิดจากการทับทมของชั้นดิน หิน และทรายหลายชั้น จึงไม่แปลกที่จะมีการเศษหิน ดิน ทราย หรือกรวดต่าง ๆ ผสมอยู่ แต่การที่น้ำบาดาลมีเศษหิน เศษกรวดผสมอยู่ ก็แน่นอนว่าเป็นเรื่องที่ไม่ดีเท่าไหร่ เนื่องจากเศษหิน กรวด ดิน ทรายพวกนี้จะทำให้น้ำบาดาลมีเศษตะกอนและส่งผลทำให้น้ำขุ่น อาจทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ และอาจรวมถึงการส่งผลเสียต่อปั๊มน้ำบาดาลได้ด้วยเช่นกัน คลิกอ่านเพิ่มเติม : ระบบกรองน้ำบาดาล คืออะไร มีวิธีการกรองปรับสภาพน้ำอย่างไรบ้าง ให้ใช้อุปโภค-บริโภคได้แบบไม่เป็นอันตราย 3.มีค่าสนิมเหล็กเจือปน น้ำบาดาลถือเป็นแหล่งน้ำที่เกิดเองตามธรรมชาติที่มีค่าสนิมเหล็กสูง จึงทำให้น้ำบาดาลส่วนใหญ่มีกลิ่นสนิมเหล็ก และหากมีค่าสนิมเหล็กที่สูงมาก ๆ น้ำบาดาลก็อาจจะเปลี่ยนสีเป็นสีเหลือง ดังนั้นการติดตั้งระบบกรองน้ำบาดาลจึงเป็นเรื่องที่จำเป็น โดยการช่วยบำบัดและลดค่าสนิมเหล็กที่ผสมเจือปนอยู่กับน้ำบาดาลได้ 4.มีค่า Ph ไม่เป็นกลาง น้ำที่ใช้ในการอุปโภค บริโภค ควรจะมีการปรับค่า Ph ให้เป็นกลางเพื่อที่จะได้สามารถบริโภคได้อย่างปลอดภัย ซึ่งน้ำบาดาลแต่ละจุด แต่ละพื้นที่นั้นจะมีค่า Ph หรือค่ากรดด่างไม่เท่ากัน การติดตั้งระบบกรองน้ำบาดาลจึงเป็นระบบที่จะเข้ามาช่วยปรับระดับความสมดุลให้กับน้ำดาลให้มีค่า Ph เป็นกลาง เพื่อให้สามารถใช้งานรวมถึงบริโภคได้อย่างปลอดภัยมากยิ่งขึ้น 5.มีหินปูนผสมอยู่ น้ำบาดาลเป็นแหล่งน้ำที่มีหินปูนผสมเจือปนอยู่ซึ่งมีจำนวนไม่น้อย เมื่อใช้ในการบริโภคจะทำให้เกิดความกระด้างคอ ซึ่งเมื่อบริโภคเข้าไปเป็นจำนวนมากหรือในระยะยาวนั้น อาจจะผลเสียต่อร่างกายได้ ดังนั้นเราจึงต้องทำการกรองหรือบำบัดน้ำบาดาลก่อนจึงสามารถนำมาบริโภคได้ 6.มีสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อร่างกายผสมอยู่ สารเคมีหรือสารที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ที่ผสมเจือปนอยู่ในน้ำบาดาลนั้น มีอยู่หลายชนิดมาก ไม่ว่าจะเป็นสารตะกั่ว สารปรอท ทองแดง ซึ่งสารเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นสารที่ส่งผลเสียต่อร่างกาย ซึ่งหากพบว่าน้ำบาดาลมีสารเหล่านี้เจือปนอยู่ ต้องรีบนำน้ำบาดาลเข้ารับการบำบัดในทันที เพราะหากนำไปใช้ในการอุปโภค บริโภค โดยไม่ผ่านการกรองหรือบำบัดก่อน ก็อาจส่งผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อร่างกายได้ 7.มีสารละลายในน้ำเยอะเกินไป ในน้ำบาดาลบางจุดนั้นมีสารละลายในน้ำที่มากเกินกว่าที่มาตรฐานที่กำหนดไว้ ทำให้โรงงานอุสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอาหารที่ใช้น้ำจากแหล่งน้ำบาดาลนั้น ต้องมีการนำน้ำบาดาลไปผ่าน ระบบการกรองน้ำ ใ ห้เรียบร้อยเสียก่อน เพื่อที่จะได้ไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของอาหาร รวมถึงสุขลักษณะของผู้บริโภคอีกด้วย cr.ts ข้อมูลเพิ่มเติม Tel. 02-292-1067-70 Youtube : Leopump ประเทศไทย Line Official : @Leopump Facebook : LEOpumpThailand
- ปัญหาที่พบเจอบ่อยของปั๊มบาดาลและการตรวจสอบเบื้องต้น
ในปัจจุบันน้ำบาดาลนั้นเป็นทีนิยมใช้กันเป็นอย่างมาก แต่ก่อนที่จะใช้น้ำบาดาลนั้นได้ต้องมีการขุดเจาะบ่อบาดาล รวมถึงการที่จะนำน้ำจากด้านล่างบ่อขึ้นมาใช้นั้นจำเป็นจะต้องใช้ ปั๊มบาดาล เพื่อสูบน้ำจากด้านล่างขึ้นมาด้านบน ซึ่งบางท่านอาจจะประสบปัญหาในการใช้งานของปั๊มหลังการติดตั้ง เช่น ปั๊มไม่ทำงาน , ปั๊มตัด , หรืออื่นๆ "ทางลีโอจึงรวบรวมปัญหาต่างๆ ที่ผู้ใช้พบเจอกันบ่อย รวมถึงวิธีการตรวจสอบแก้ไขเบื้องต้นมาให้ดูกันจ้า " 1. สายไฟที่ใช้งาน : เนื่องจากสายไฟนั้นมีผลเป็นอย่างมากต่อการจ่ายไฟไปยังปั๊มบาดาลเพื่อการใช้งาน เช่น ในเรื่องของระยะทางและแรงเสียดทาน หากใช้สายไฟเล็ก หรือต่อสายไฟยาวเกินไปอาจส่งผลให้เกิดปัญหาต่อการทำงานของปั๊มบาดาล เช่น ปั๊มดับ หรือปั๊มไม่ทำงานได้ ทั้งนี้ผู้ใช้งานหรือผู้ติดตั้งสามารถตรวจสอบได้จากตารางการเลือกใช้สายไฟสำหรับมอเตอร์และปั๊มน้ำได้ก่อนการติดตั้งจริง เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการใช้งานหลังการติดตั้ง 2. การเกิด ไฟขาด ไฟเกิน หรือไฟตก ทำให้เกิดการทิปของเบรคเกอร์ ส่งผลให้ปั๊มบาดาลหยุดการทำงานได้ 3. การต่อสายไฟนั้นถูกต้องหรือไม่ เช่น ต่อสายไฟเข้าขั้วสายถูกไหม ในกรณีต่อสายผิดอาจส่งผลต่อทิศทางการหมุนของมอเตอร์ ส่งผลให้ใบพัดหมุนกลับทางซึ่งจะทำให้สูบน้ำไม่ขึ้น หรือปั๊มน้ำไม่สามารถจ่ายน้ำได้ในปริมาณที่ควรจะเป็น รวมถึงอาจจะทำให้ปั๊มน้ำเกิดความเสียหายได้ด้วยเช่นกัน 4. การต่อสายไฟด้วยเทปพันละลาย หรือเทปพันสายไฟต่างๆ ในกรณีที่พันไม่ดีหรือการพันนั้นมีปัญหา อาจส่งผลให้น้ำหรือความชื้นเข้าไปยังจุดที่ต่อสายไฟไว้ ซึ่งอาจจะทำให้ปั๊มน้ำไม่ทำงานหรือเกิดการลัดวงจรในระหว่างการใช้งานได้ 5. จุดการใช้งานของปั๊มบาดาล เลือกใช้ปั๊มบาดาลที่มีกำลังเหมาะกับการใช้งานหรือไม่ ซึ่งก่อนการเลือกซื้อหรือติดตั้งนั้น เราสามารถตรวจสอบสเป็คปั๊มน้ำได้ก่อนเลย จาก Pump Curve หรือ ตารางการใช้งานในช่วงระยะต่างๆของปั๊ม ทั้งนี้การใช้งานที่ต่ำหรือสูงกว่า Curve อาจทำให้ปั๊มบาดาลไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ หรือปั๊มน้ำอาจจะไม่สามารถใช้งานได้ด้วยเช่นกัน วิธีอ่าน Pump Curve ง่ายๆ คลิก 6. ตรวจสอบน้ำในบ่อบาดาล เนื่องจากปั๊มบาดาลโดยมากจะมีระบบ Dry run protection ซึ่งก็คือระบบป้องกันน้ำแห้งน้ำหรือน้ำขาดนั่นเอง เมื่อน้ำในบ่อแห้งเซ็นเซอร์จะสั่งให้ปั๊มหยุดทำงานเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับมอเตอร์และปั๊มน้ำโดยอัตโนมัติ ทำให้ปั๊มน้ำไม่สามารถใช้งานได้ 7. น้ำบาดาลมีสิ่งเจือปนหรือสกปรก เช่น มีทรายขี้เป็ด , หินปูน , โคลน , หรือการที่บ่อถล่ม สิ่งเหล่านี้สามารถทำให้ปั๊มบาดาลเกิดความเสียหายและไม่สามารถใช้งานได้ 8. การถอดเช็ควาล์วออก ก่อให้เกิดความเสียหายต่อปั๊มน้ำบาดาลได้ อาจจะก่อให้เกิดน้ำย้อนกลับทำให้ใบพัดหมุนกลับทาง อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อปั๊มน้ำได้ คลิปอธิบาย คลิก 9. ตำแหน่งการติดตั้ง Control Box เช่น การติดตั้งในสภาพแวดล้อมที่อยุ่กลางแจ้ง อาจทำให้เกิดความร้อนสะสมภายในตัวกล่องอนโทรล ส่งผลทำให้ตัว Capacitor ร้อนจัด เป็นสาเหตุให้กล่องหยุดการทำงาน ทำให้ปั๊มบาดาลหยุดการทำงานด้วยเช่นกัน 10. มิเตอร์ไฟฟ้า : การจ่ายไฟที่ไม่พอเพียงต่อการใช้งาน ทำให้ปั๊มน้ำไม่สามารถทำงานได้ เช่น มิเตอร์การเกษตร หรือมิเตอร์ 5 แอมป์นั้น ในกรณีที่เราใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าหลายอย่างพร้อมกัน อาจจะทำให้โหลดไม่ถึงและปั๊มน้ำหยุดการทำงานได้ และปั๊มน้ำที่ใช้มอเตอร์แรงม้าสูงมากกว่า 2 แรงม้าขึ้นไปควรจะติดเบรคเกอร์เพื่อความปลอดภัยและป้องกันความเสีบหายต่อปั๊มน้ำ ตัวอย่างการคำนวณการกินกระแสไฟเครื่องใช้ไฟฟ้า คลิก ข้อมูลเพิ่มเติม Tel. 02-292-1067-70 Youtube : Leopump ประเทศไทย Line Official : @Leopump Facebook : LEOpumpThailand
- การเลือกปั๊มน้ำและแท็งค์น้ำให้เหมาะสม เพื่อการประหยัดค่าใช้จ่ายไปกว่าครึ่ง
สำหรับการเลือกปั๊มน้ำและแท็งค์น้ำให้เหมาะสมนั้น ผู้ใช้หรือเจ้าของบ้านหลายคนอาจยังสับสนว่าเราจะเลือกใช้ปั๊มน้ำขนาดไหนดี แต่ทั้งนี้ก็ได้มีการกำหนดข้อมูล แนวทางการเลือกปั๊มน้ำแบบคร่าวๆเอาไว้อยู่แล้ว เช่น บ้าน 1 ชั้น ควรใช้ปั๊มน้ำประมาณ 150 w , บ้าน 2 ชั้น 250 w , และ บ้าน 3-4 ชั้น 400 w เป็นต้น ซึ่งข้อมูลที่ผู้ผลิตแต่ละรายนำมาเป็นแนวทางนั้น ก็มาจากการประมาณอัตราการใช้น้ำของอาคารแต่ละประเภท ประกอบกับระยะทางการใช้งานนั่นเอง ปัจจุบันตามท้องตลาดทั่วไปเรามักจะเอาขาดของมอเตอร์หรือกำลังวัตต์เป็นที่ตั้ง แต่ขนาดมอเตอร์นั้นไม่ได้แสดงถึงประสิทธิภาพของการไหลของน้ำอย่างที่เข้าใจกัน ดังนั้นผู้ใช้หรือเจ้าของบ้านควรคำนวณหาขนาดของปั๊มน้ำที่เหมาะสมกับการใช้งานเบื้องต้นเสียก่อน ไม่ใช่คำนึงถึงแต่ขนาดมอเตอร์หรือกำลังวัตต์ ดังนี้ 1. คำนึงถึงจำนวนจุดใช้น้ำ และปริมาณน้ำที่ต้องการใช้พร้อมกันภายในบ้านทั้งหมด ว่ามีปริมาณกี่ลิตร/นาที โดยทั้งนี้เราต้องคำนึงถึงอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ด้วย เช่น ฝักบัว , ก๊อกสนาม , และอื่นๆ กะประมาณคร่าวๆเอาได้ 2. จำนวนคนที่พักอาศัย จะได้ทราบถึงปริมาณน้ำที่ใช้ จึงจะเลือกปั๊มน้ำที่จะใช้ได้อย่างเหมาะสม 3. ระยะทางและความสูงในการส่งน้ำ เพื่อที่จะได้นำไปเปรียบเทียบกับสเป็คอัตราการจ่ายน้ำของปั๊มน้ำนั้นๆในการเลือกซื้อ คราวนี้เราลองมาดูตัวอย่างของการเลือกซื้อปั๊มน้ำกันบ้าง ถ้าเรามีบ้านเดี่ยว 2 ชั้น ความสูงโดยประมาณของจุดจ่ายน้ำจะมีระยะประมาณ 7 เมตร และมี ก๊อกน้ำภายในบ้านทั้งหมด 6 จุด และประมาณว่าจะใช้ก๊อกน้ำพร้อมกันทั้งหมด 3 จุด เราก็จะได้ดังนี้ 1. เรื่องของระยะส่งของปั๊มน้ำ ในกรณีนี้ความสูงถึงจุดที่ต้องการจ่ายน้ำประมาณ 7 เมตร เราควรเผื่อค่าแรงเสียดทานต่างๆ เช่น การใช้ท่อลด ข้อลด หรือข้องอต่างๆ ซึ่งจะทำให้กำลังการส่งตกลงไป ดังนั้นเราจึงควรเผื่อไว้ 30% ดังนั้นเราควรเลือกใช้ปั๊มน้ำที่มีระยะส่งไม่น้อยกว่า 9 เมตร นั่นเอง 2. ปริมาณน้ำที่จ่ายได้ (ลิตร/นาที) เราควรพิจารณาถึงการใช้น้ำพร้อมกันทั้งบ้าน และในที่นี้เรามีโอกาสใช้น้ำพร้อมกัน 3 จุด ซึ่งตามปกติก๊อกน้ำมีอัตราการจ่ายน้ำประมาณ 9 ลิตร/นาที ( โดยการคำนวณปริมาณน้ำในที่นี้เป็นการประมาณการเท่านั้นเนื่องจากอุปกรณ์ที่ใช้นั้นต่างกัน ทั้งนี้ถ้าต้องการความแม่นยำถูกต้องเราสามารถตรวจสอบปริมาณการใช้น้ำที่อุปกรณ์ต่าง ๆ ได้จากฉลากที่ติดมากับตัวอุปกรณ์นั้นๆ ) ดังนั้นจากการประมาณการปริมาณน้ำขั้นต่ำที่บ้านหลังนี้ใช้พร้อมกัน คือ 27 ลิตร/นาที ปั๊มน้ำอัตโนมัติ ระบบ Inverter ประหยัดพลังงาน ปั๊มน้ำอัตโนมัติ ระบบ Inverter ประหยัดพลังงาน คือ รอบมอเตอร์จะหมุนตามปริมาณน้ำที่ใช้ เปรียบเทียบให้เห็นภาพ คือ เมื่อเราหรี่ก๊อกหรือเปิดใช้น้ำเบาๆ มอเตอร์ก็จะหมุนเบาเช่นกัน ( ใช้รอบหมุนน้อย )ทันทีที่เปิดก๊อกแรงมอเตอร์ก็จะทำงานเต็มกำลัง ขนาดของปั๊มน้ำอัตโนมัติมีตั้งแต่ 100-400 วัตต์ สำหรับ 100–150 วัตต์ เหมาะกับบ้านที่มีผู้อาศัย 2-3 คน แต่ถ้าเป็นบ้านเดี่ยวหลังใหญ่ อาจจะใช้ปั๊มอินเวอร์เตอร์ ขนาด 450 วัตต์ และ ที่จะควบคุมการทำงานด้วยระบบไฟฟ้า มีระบบอิเล็กทรอนิกคำนวณการใช้น้ำ เช่น ปั๊ม 450 วัตต์ ถ้าเราเปิดใช้น้ำแค่จุดเดียวจะกินไฟแค่ 120 วัตต์ เปิดน้ำพร้อมกัน 4 จุด จะกินไฟ 450 วัตต์ เปรียบเทียบกับปั๊มทั่วไปขนาด 450 วัตต์ เปิดน้ำจุดเดียวก็กินไฟ 450 วัตต์ทันที ดังนั้นระบบอินเวอร์เตอร์จึงช่วยเราประหยัดค่าไฟนั่นเอง รวมถึงปั๊มอัตโนมัติจะมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบที่ 1 ปั๊มมีถังแรงดันอากาศ แบบที่ 2 ปั๊มแรงดันคงที่ สำหรับปั๊มมีถังแรงดันอากาศ ข้อดีคืออายุการใช้งานนานกว่า แต่ข้อเสีย คือ อาจจะต้องมีการเติมลม หรือเมื่อเป็นสนิมภายในเราอาจจะต้องเปลี่ยนถังใหม่ทั้งถัง (ราคาไม่สูง) ส่วนปั๊มแรงดันคงที่ ข้อดีคือถ้าเราเปิดน้ำ 4 จุดพร้อมกัน แรงดันน้ำจะไหลเท่ากันทั้ง 4 จุด ไม่ว่าก๊อกน้ำจะอยู่ด้านหน้าหรือด้านหลัง ถ้าเทียบทั้งสองแบบที่วัตต์เท่ากัน ปั๊มแรงดันอากาศจะจ่ายน้ำได้แรงกว่า แล้วแท็งน้ำล่ะ จำเป็นแค่ไหน ?? เมื่อเราเลือกปั๊มน้ำที่ต้องการได้แล้ว จะต้องซื้อแท้งก์น้ำเพิ่มมั้ย? เลือกแท้งก์น้ำขนาดเท่าไหร่? วัสดุแบบไหน? ให้เรามาพิจารณาตามนี้ครับ 1. ความสามารถการเก็บสำรองน้ำประปาไว้ใช้งานในบ้าน กรณีที่น้ำไม่ไหลหรือมีเหตุฉุกเฉิน เช่น มีการปิดน้ำเพื่อเดินท่อประปา(ท่อเมนของการประปาฯ) หรือซ่อมท่อประปา เกิดอุบัติเหตุท่อส่งประปาแตกเสียหายทำให้ไม่สามารถส่งน้ำประปามาได้ หรือแม้กระทั่งไฟดับแล้วปั๊มน้ำไม่ทำงาน เราก็ยังคงมีน้ำสำรองจากแท็งก์น้ำไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน 2. ช่วยพักน้ำ ช่วยให้มีการตกตะกอนของสิ่งแปลกปลอมที่อาจหลุดรอดเข้ามากับน้ำ (สิ่งแปลกปลอมอาจหลุดรอดเข้ามาในระหว่างทางที่มีการตัดต่อท่อประปาหรือมีการซ่อมท่อประปา ก่อนที่น้ำประปาจะมาถึงบ้าน) 3. ช่วยประหยัดค่าไฟได้ เนื่องจากเมื่อน้ำเต็มแท็งก์ก็ไม่จำเป็นต้องเปิดปั๊มน้ำ ทำให้ปั๊มไม่ต้องทำงานตลอดเวลาที่ใช้น้ำ แท็งก์น้ำมีแบบไหนบ้าง? หลักๆเราแบ่งแท็งค์น้ำออกเป็น 2 แบบ ซึ่งก็คือ แท็งค์น้ำ ที่อยู่บนดินและแท็งค์น้ำที่อยู่ใต้ดิน • สำหรับแท็งค์น้ำบนดินนั้นจะเหมาะสำหรับบ้านที่มีพื้นที่พอสมควร โดยถังเก็บน้ำที่ได้รับความนิยมสำหรับการติดตั้งลักษณะนี้คือ แท็งก์น้ำสเตนเลสและแท็งก์น้ำพลาสติกชนิดติดตั้งบนดิน ข้อดีคือดูแลรักษาง่ายและ เคลื่อนย้ายได้ง่าย • สำหรับแท็งค์น้ำที่อยู่ใต้ดิน เหมาะสำหรับบ้านที่มีพื้นที่จำกัด ต้องมีโครงสร้างรับน้ำหนักที่แข็งแรง เพื่อป้องกันการทรุดตัวที่อาจจะเกิดขึ้น โดยแท็งก์น้ำที่เหมาะสำหรับการติดตั้งลักษณะนี้ คือ แท็งก์น้ำคอนกรีตและแท็งก์น้ำพลาสติกชนิดติดตั้งใต้ดิน แล้วต้องใช้แท็งค์น้ำขนาดเท่าไหร่ ? โดยเฉลี่ยแล้ว หนึ่งคนจะใช้น้ำอยู่ที่ประมาณ 200 ลิตร/วัน/คน ซึ่งหมายความว่าแท็งค์น้ำก็ควรคิดจากปริมาณของสมาชิกในบ้านคูณด้วยปริมาณการใช้น้ำต่อวัน (เมื่อได้ผลลัพธ์แล้วควรคูณด้วย 2 อีกที เผื่อสำหรับน้ำไม่ไหลมากเกิน 1 วัน) *** 200 ลิตร (ปริมาณน้ำ /คน /วัน) x จำนวนคนในบ้าน x จำนวนวันที่สำรองน้ำ " การเลือกปั๊มน้ำและแท็งค์น้ำให้เหมาะสมและพื้นฐานการคำนวณปริมาณการใช้น้ำที่ได้กล่าวมาข้างต้นสามารถนำมาใช้ได้เลยสำหรับผู้ที่กำลังมองหาหรือติดตั้งปั๊มน้ำและแท็งค์น้ำใหม่ครับ " เกร็ดความรุ้เบื้องต้น การต่อปั๊มน้ำแบบบายพาส / การเลือกกำลังปั๊มและการตรวจเช็ค / วาล์ว คลิก วิธีแก้ปัญหาปั๊มน้ำเบื้องต้นที่พบกันบ่อย คลิก ระบบและการติดตั้งปั๊มน้ำอาคารสูง คลิก วิธีการอ่านกราฟปั๊มน้ำแบบง่ายๆ คลิก ข้อมูลเพิ่มเติม Tel. 02-292-1067-70 Youtube : Leopump ประเทศไทย Line Official : @775ruust Facebook : LEOpumpThailand TikTok : Leopumpthailand ตัวแทนจำหน่าย : https://www.leo.co.th/dealer
- ชนิดแผงโซล่าเซลล์ เลือกแบบไหนดี? โมโน / โพลี /หรือ อะมอร์ฟัส
ในปัจจุบันกระแสการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน เช่นโซล่าเซลล์นั้นเป็นที่นิยมกันเป็นอย่างมาก แต่ว่าแผงโซล่าเซลล์นั้นก็มีหลสยแบบ ทั้งนี้เราควรจะเลือกชนิดแผงโซล่าเซลล์แบบไหนดี เพื่อให้คุ้มค่า คุ้มราคาที่จ่ายไป พร้อมทั้งใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เราสามารถหาคำตอบได้จากบทความนี้เลยจ้า 1. ลำดับแรกเรามาทำความรู้จักกับ แผงโซล่าเซลล์กันก่อนว่า คืออะไร? แผงโซล่าเซลล์ (Solar panel หรือ Photovoltaics) คือการนำเอา โซล่าเซลล์ จำนวนหลายๆเซลล์ มาต่อวงจรรวมกัน อยู่ในแผงเดียวกัน เพื่อที่จะทำให้สามารถผลิตและจ่ายกระแสไฟฟ้าได้มากขึ้น โดยไฟฟ้าที่ได้นั้นเป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC) 2. ผลึกซิลิคอน Crystalline Silicon (c-Si) คืออะไร? ในทุกวันนี้ เกือบ 90% ของแผงโซล่าเซลล์ นั้นทำมาจาก ซิลิคอน (Silicon) ซึ่งซิลิคอนนี้อาจจะอยู่ในรูปต่างๆกันไป และ 95% ของแผงโซล่าเซลล์ ที่มีใช้ตามบ้านเรือนนั้น เป็นซิลิคอนที่อยู่ในรูปของผลึกซิลิคอน หรือ crystalline Silicon ความบริสุทธิ์ของเนื้อซิลิคอน เป็นคุณสมบัติสำคัญที่สุด ที่ทำให้รูปแบบของซิลิคอน ที่นำมาใช้ทำโซล่าเซลล์ มีความแตกต่างกันออกไป ด้วยคุณสมบัติและองค์ประกอบทางเคมีแล้ว ซิลิคอนที่มีความบริสุทธิ์กว่า จะมีโมเลกุลจัดเรียงตัวดีและเป็นระเบียบกว่า และทำให้มีคุณสมบัติในการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานไฟฟ้าได้มากกว่านั่นเอง ดังนั้น ประสิทธิภาพของแผงโซล่าเซลล์ จึงขึ้นอยู่กับความบริสุทธิ์ของซิลิคอน แต่กระบวนการที่จะทำให้ซิลิคอนมีความบริสุทธิ์นั้นยุ่งยาก มีขั้นตอนที่ซับซ้อน และมีต้นทุนสูง ประสิทธิภาพของแผงโซล่าเซลล์ จึงไม่ใช่สิ่งแรกที่เราต้องคำนึงถึง แต่อาจเป็นเรื่องของราคาต้นทุน ความคุ้มค่าในการลงทุนหรือจุดคืนทุน ประสิทธิภาพต่อพื้นที่ และขนาดพื้นที่ที่คุณมีอยู่ต่างหากที่จะต้องมาก่อน ผลึกซิลิคอนในแผงโซล่าเซลล์ มี 2 รูปแบบหลักๆ ได้แก่ ผลึกซิลิคอนเชิงเดี่ยว หรือ โมโนคริสตัลไลน์ ซิลิคอน (monocrystalline Silicon) และ ผลึกซิลิคอนเชิงผสม หรือ โพลีคริสตัลไลน์ ซิลิคอน (polycrystalline Silicon) แผงโซล่าเซลล์ชนิดโมโนคริสตัลไลน์ (mono-Si) แผงโซล่าเซลล์ ชนิดที่ทำมาจาก ผลึกซิลิคอนเชิงเดี่ยว (mono-Si) หรือบางทีก็เรียกว่า single crystalline (single-Si) สังเกตค่อนข้างง่ายกว่าชนิดอื่น เพราะจะเห็นแต่ละเซลล์ลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมตัดมุมทั้งสี่มุม และมีสีเข้ม แผงโซล่าเซลล์ชนิด โมโนคริสตัลไลน์ นั้นเป็นชนิดที่ทำมาจากซิลิคอนที่มีความบริสุทธิ์สูง โดยเริ่มมาจากแท่งซิลิคอนทรงกระบอก อันเนื่องมาจาก เกิดจากกระบวนการ กวนให้ผลึกเกาะกันที่แกนกลาง ที่เรียกว่า Czochralski process จึงทำให้เกิดแท่งทรงกระบอก จากนั้นจึงนำมาตัดให้เป็นสี่เหลี่ยม และลบมุมทั้งสี่ออก เพื่อที่จะทำให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด และลดการใช้วัตถุดิบโมโนซิลิคอนลง ก่อนที่จะนำมาตัดเป็นแผ่นอีกที จึงทำให้เซลล์แต่ละเซลล์หน้าตาเป็นอย่างที่เห็นในแผงโซล่าเซลล์ ข้อดีของแผงโซล่าเซลล์ ชนิดโมโนคริสตัลไลน์ แผงโซล่าเซลล์ชนิด โมโนคริสตัลไลน์ มีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะผลิตมาจาก ซิลิคอนเกรดดีที่สุด โดยมีประสิทธิภาพเฉลี่ยอยู่ที่ 15-20% แผงโซล่าเซลล์ชนิด โมโนคริสตัลไลน์ มีประสิทธิภาพต่อพื้นที่สูงสุด เพราะว่าให้กำลังสูงจึงต้องการพื้นที่น้อยที่สุดในการติดตั้งแผงโซลล่าเซลล์ชนิดนี้ โมโนคริสตัลไลน์ สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้เกือบ 4 เท่า ของชนิด ฟิล์มบางหรือ thin film แผงโซล่าเซลล์ชนิด โมโนคริสตัลไลน์ มีอายุการใช้งานยาวนานที่สุด โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 25 ปีขึ้นไป แผงโซล่าเซลล์ชนิด โมโนคริสตัลไลน์ ผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากว่าชนิด โพลีคริสตัลไลน์ เมื่ออยู่ในภาวะแสงน้อย ข้อเสียของแผงโซล่าเซลล์ ชนิดโมโนคริสตัลไลน์ แผงโซล่าเซลล์ชนิดโมโนคริสตัลไลน์ เป็นชนิดที่มีราคาแพงที่สุด ในบางครั้งการใช้งาน แผงโซล่าเซลล์ชนิดโพลีคริสตัลไลน์ หรือชนิด thin film มาแทนชนิดโมโนคริสตัลไลน์ อาจมีความคุ้มค่ามากกว่า ถ้าหากแผงโซล่าเซลล์ ชนิดโมโนคริสตัลไลน์ มีความสกปรกหรือถูกบังแสงในบางส่วนของแผง อาจทำให้วงจรหรือ inverter ไหม้เสียหายได้ เนื่องจากภาวะเกิดโวลต์สูงเกินไปหรือ high over voltage แผงโซล่าเซลล์ชนิด โพลีคริสตัลไลน์ เป็นแผงโซล่าเซลล์์ชนิดแรก ที่ทำมาจากผลึกซิลิคอน โดยทั่วไปเรียกว่า โพลีคริสตัลไลน์ (polycrystalline,p-Si) แต่บางครั้งก็เรียกว่า มัลติ-คริสตัลไลน์ (multi-crystalline,mc-Si) โดยในกระบวนการผลิตแผงโซล่าเซลล์ชนิดนี้ เกิดจากการหลอมซิลิคอนหรือแก้วให้เหลว แล้วมาเทใส่โมลด์หรือแม่แบบที่เป็นสี่หลี่ยม พอเย็นตัวแล้วนำแท่งแก้วสี่เหลี่ยมนั้นมาตัดเป็นแผ่นบางๆ จึงทำให้เซลล์แต่ละเซลล์เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ไม่มีการตัดมุม สีของแผงจะออกสีน้ำเงินฟ้าไม่เข้มมาก ข้อดีของแผงโซล่าเซลล์ ชนิดโพลีคริสตัลไลน์ แผงโซล่าเซลล์ชนิด โพลีคริสตัลไลน์ มีขั้นตอนกระบวนการผลิตที่ง่าย ไม่ซับซ้อน จึง ใช้ปริมาณซิลิคอนในการผลิตน้อยกว่า เมื่อเทียบกับ ชนิดโมโนคริสตัลไลน์ แผงโซล่าเซลล์ ชนิดโพลีคริสตัลไลน์ มีประสิทธิภาพในการใช้งานในที่มีอุณหภูมิสูงดีกว่า ชนิดโมโนคริสตัลไลน์เล็กน้อย และมีราคาถูกกว่าเมื่อเทียบกับชนิดโมโนคริสตัลไลน์ ข้อเสียของแผงโซล่าเซลล์ ชนิดโพลีคริสตัลไลน์ แผงโซล่าเซลล์ ชนิดโพลีคริสตัลไลน์ มีประสิทธิภาพโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 13-16% ซึ่งต่ำกว่า เมื่อเทียบกับชนิดโมโนคริสตัลไลน์ แผงโซล่าเซลล์ ชนิดโพลีคริสตัลไลน์ มีประสิทธิภาพต่อพื้นที่ต่ำกว่าชนิดโมโนคริสตัลไลน์ แผงโซล่าเซลล์ ชนิดโพลีคริสตัลไลน์ มีสีน้ำเงิน ทำให้บางครั้งอาจดูไม่สวยงาม เมื่อเทียบกับชนิดโมโนคริสตัลไลน์ และชนิด thin film ที่มีสีเข้ม เข้ากับสิ่งแวดล้อม เช่น หลังคาบ้านได้ดีกว่า (แผงโซล่าเซลล์อะมอร์ฟัส เป็นหนึ่งในหลายชนิด ของแบบฟิล์มบาง) โดยทั่วไปของการผลิต โซล่าเซลล์ ชนิดฟิล์มบาง (Thin Film Solar Cell, TFSC) คือ การนำเอาสารที่สามารถแปลงพลังงานจากแสงเป็นกระแสไฟฟ้า มาฉาบเป็นฟิล์มหรือชั้นบางๆ ซ้อนกันหลายๆชั้น จึงเรียก โซล่าเซลล์ชนิดนี้ว่า ฟิล์มบาง หรือ thin film ซึ่งสารฉาบที่ว่านี้ก็มีด้วยกันหลายชนิด ชื่อเรียกของ แผงโซล่าเซลล์ ชนิดฟิล์มบางจึงแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับชนิดวัสดุที่นำมาใช้ ได้แก่ อะมอร์ฟัส Amorphous silicon (a-Si),Cadmium telluride (CdTe),Copper indium gallium selenide (CIS/CIGS) และ Organic photovoltaic cells (OPC) ด้านประสิทธิภาพ แผงโซล่าเซลล์ชนิดฟิล์มบางนั้นมีประสิทธิภาพเฉลี่ยอยู่ที่ 7-13% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุที่นำมาทำเป็นฟิล์มฉาบ สำหรับบ้านเรือนโดยทั่วไปแล้วมีเพียงประมาณ 5% เท่านั้น ที่ใช้แผงโซล่าเซลล์แบบชนิดฟิล์มบาง ข้อดีของแผงโซล่าเซลล์ชนิดฟิล์มบาง แผงโซล่าเซลล์ชนิดฟิล์มบาง มีราคาถูกกว่า เพราะสามารถผลิตจำนวนมากได้ง่ายกว่า ชนิดผลึกซิลิคอน ในที่อากาศร้อนมากๆ แผงโซล่าเซลล์ชนิดฟิล์มบาง มีผลกระทบน้อยกว่า ไม่มีปัญหาเรื่อง เมื่อแผงสกปรกแล้วจะทำให้วงจรไหม้ ถ้าคุณพื้นมีที่เหลือเฟือ แผงโซล่าเซลล์ชนิดฟิล์มบางก็เป็นทางเลือกที่ดี ข้อเสียของแผงโซล่าเซลล์ชนิดฟิล์มบาง แผงโซล่าเซลล์ชนิดฟิล์มบางมีประสิทธิภาพต่ำ แผงโซล่าเซลล์ชนิดฟิล์มบางมีประสิทธิภาพต่อพื้นที่ต่ำ สิ้นเปลืองค่าโครงสร้างและอุปกรณ์อื่นๆ เช่น สายไฟ ข้อต่อ ไม่เหมาะนำมาใช้ตามหลังคาบ้าน เพราะมีพื้นที่จำกัด และการรับประกันสั้นกว่าชนิดผลึกซิลิคอน “ จากข้อมูลข้างต้นคิดว่าใครที่สนใจหรือกำลังตัดสินใจเลือกซื้อแผงโซล่าเซลล์อยู่ น่าจะได้คำตอบในการเลือกซื้อแล้วนะครับว่า ชนิดแผงโซล่าเซลล์ แบบไหนดี? ส่วนการคำนวณค่ากระแสไฟ หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องสามารถดูได้จากลิงค์ ด้านล่างเลยจ้า “ การออกแบบระบบโซล่าเซลล์เพื่อใช้ทั้งกลางวันและกลางคืน คลิก สอนการคำนวณไฟฟ้าและจำนวนแผงโซล่าเซลล์ ( Solar Cell Calculation ) คลิก ระบบโซลาร์แบบ On Grid กับ Off Grid ต่างกันอย่างไร? คลิก การเลือกตัว Inverter ปั๊มน้ำ , แผงโซล่าเซลล์และการเผื่อกำลังไฟฟ้า คลิก รู้ไว้ใช่ว่า ก่อนใช้ปั๊มน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ คลิก ข้อมูลเพิ่มเติม Tel. 02-292-1067-70 Youtube : Leopump ประเทศไทย Line Official : @775ruust Facebook : LEOpumpThailand TikTok : Leopumpthailand ตัวแทนจำหน่าย : https://www.leo.co.th/dealer
- เคล็ดลับการติดตั้งปั๊มหอยโข่งให้น้ำแรง ขจัดปัญหาการใช้งาน
เคล็ดลับการติดตั้งปั๊มหอยโข่งให้น้ำแรง ขจัดปัญหาการใช้งาน มีอะไรบ้างมาดูกันเลยจ้า พื้นที่ต้องทำให้ดี ยึดให้เรียบร้อย ไม่สั่นคลอน การต่อขยายท่อ การขยายท่อ ปั๊มน้ำหอยโข่ง ต้องขยายเพิ่มขึ้น 1-2 เท่าของไซส์ท่อ เช่น จากท่อ 2 นิ้ว ขยายเป็นท่อ 3 นิ้ว ไม่แนะนำให้ทำการลดท่อ เช่น จาก 2 นิ้ว เป็น 1 นิ้ว จะไม่เป็นการดีต่อการส่งน้ำ แรงน้ำจะไม่ได้ตามที่ต้องการหรือตามที่สเป็นปั๊มน้ำระบุไว้ของการใช้งาน ข้อต่อท่อควรใช้เป็นข้อต่อแบบคางหมู เพื่อทำให้อากาศไม่สะสมและกีดขวางทางเดินของน้ำ การวางท่อของปั๊มน้ำในแนวนอน ไม่ควรวางแนวตรวจนเกินไป ควรจะวางเฉียงลงมาซักประมาณ 10 องศา เพื่อไม่ให้มีอากาศค้างอยู่และกีดขวางทางดินของน้ำในท่อ การต่อท่อออกจากตัวปั๊มน้ำ ควรต่อท่อให้สั้นที่สุดแต่ต้องไม่น้อยกว่า 6 เท่า ของเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อน้ำ เช่น ท่อขนาด 2 นิ้ว หรือ 50 mm x 6 จะได้เท่ากับ 300 mm หรือท่อต้องไม่สั้นกว่า 30 cm การต่อท่อในแนวดิ่งไม่ตั้งตรงจนเกินไป ควรวางเฉียงลงไปซักประมาณ 45 องศา เพื่อการดูน้ำที่ดี ไม่มีแรงดันน้ำกดทับจากด้านบนไปถึงด้านล่างมากเกินไป ทำให้ทุ่นแรงในการดูดน้ำและดูดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 3. หัวกะโหลกปลายท่อดูดน้ำ ควรจะลงไปในน้ำลึกเป็น 4 เท่า ของเส้นผ่านศูนย์กลางท่อน้ำ และหัวกะโหลกต้องไม่อยู่ติดผิวน้ำจนเกินไป ทั้งนี้ถ้าหัวกะโหลกอยู่ติดผิวน้ำจนเกินไป เมื่อดูดนำจะมีการสั่นสะเทือนทำให้เกิดกระแสน้ำวน ฟองอากาศเพราะน้ำตี และอากาศจะเข้าไปในระบบได้ง่าย หรืออาจเกิด Cavitation ทำให้ใบพัดสึกหรอและเสียหายได้เช่นกัน หัวกะโหลกไม่ควรจุ่มลงไปจนติดพื้นดิน ควรจะห่างจากพื้นดินอย่างน้อย 1 – 1.5 เท่า ของเส้นผ่านศูนย์กลางท่อน้ำ เพื่อหลีกเลี่ยงการดูดสิ่งสกปรกขึ้นมาจากน้ำ หัวกะโหลกต้องมีขนาดใหญ่กว่าท่อน้ำ เช่น ท่อน้ำขนาด 2 นิ้ว ต้องใช้หัวกะโหลกขนาด 3 นิ้ว เป็นต้น ในกรณีที่ใช้น้ำเยอะควรใช้หัวกะโหลกแบบลิ้นกระดก ไม่ใช่บานสปริง เนื่องด้วยการปิด-เปิด เวลาส่งน้ำ ( ความเห็นส่วนตัว ) ข้อสุดท้าย คือ การติดตั้งปั๊มหอยโข่งควรยึดท่อน้ำให้แน่นทั้งแนวราบและแนวดิ่ง รวมถึงตัวปั๊มด้วยเช่นกัน ต้องมั่นคงเพราะเวลาใช้งานจะมีการสั่นสะเทือนทั้งตัวปั๊มน้ำเองและท่อส่ง/ดูดน้ำ บทความรู้เรื่องปั๊มน้ำอื่นๆ คลิก ข้อมูลเพิ่มเติม Tel. 02-292-1067-70 Youtube : Leopump ประเทศไทย Line Official : @775ruust Facebook : LEOpumpThailand TikTok : Leopumpthailand
- การติดตั้งปั๊มน้ำให้ได้น้ำแรง 100%
เมื่อเราเลือกซื้อปั๊มน้ำมาใช้งานแล้วนั้น สิ่งสำคัญไม่ได้อยู่ที่ตัวปั๊มอย่างเดียว การต่อปั๊มน้ำเพื่อใช้งานนั้นก็สำคัญไม่แพ้กัน การต่อที่ถูกต้องจะทำให้ได้น้ำที่แรงเต็มประสิทธิภาพการจ่ายน้ำของปั๊ม ดังนั้นบทความนี้จะแนะนำสิ่งที่ควร และไม่ควรทำในการต่อปั๊มน้ำ เพื่อการติดตั้งปั๊มน้ำให้ได้น้ำแรง 100% การลด หรืองอท่อ จะส่งผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพของปั๊มเพราะนอกจากการต่อระบบท่อที่ถูกต้องแล้ว การวางแผนในการต่อท่อที่ดี จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของปั๊มได้อีกด้วย ท่อทางน้ำเข้า – น้ำออก ของปั๊มแทบจะทุกชนิด ในระยะการเดินท่อ เราควรลดอุปสรรคและลดแรงเสียดทานแรงดันน้ำในท่อ เพื่อการติดตั้งปั๊มน้ำให้ได้น้ำแรง 100% ที่เรามุ่งหวัง " ไม่ควรลด หรืองอท่อ " เราไม่ควรทำการ ลดท่อ หรือ งอท่อ ในระยะ 30-45 เซนติเมตร ( จากจุดจ่อที่ตัวปั๊มกับท่อน้ำ ) เพราะจะส่งผลต่อประสิทธิภาพของการดูดน้ำขาเข้าและการจ่ายน้ำขาออกของปั๊มน้ำนั้นเอง " รู้จักสเปคปั๊มน้ำ " เราควรศึกษาข้อมูลของปั๊มน้ำชนิดนั้นๆ รวมถึงสเป็คของปั๊มน้ำตัวนั้นๆ ที่สามารถทำได้ เพื่อให้ตรงกับความต้องการในการใช้และไม่เป็นการใช้จ่ายอย่างสิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็น จากป้ายเนมเพลทบอกสเป็คปั๊มน้ำตามด้านบน เรามาดูข้อมูลหลักๆก่อนว่า ปั๊มน้ำสามารถจ่ายน้ำได้ปริมาณเท่าไหร่และอย่างไร จะเห็นว่า Q= 30-100 ลิตร/นาที ค่าตัวเลขช่วง 30-100 ลิตรนั้นจะแปรผันตามระยะการใช้งาน คือ ในช่วง 33-16 เมตร และระยะไกลสุด คือ 36 เมตร ( แนวดิ่ง ) นั่นเอง ในส่วนตรงนี้สามารถดูกราฟของปั๊มน้ำนั้นๆประกอบไปด้วยจะดีมาก วิธีอ่านกราฟ คลิก สำหรับ การติดตั้งปั๊มน้ำให้ได้น้ำแรง 100% การคำนวณการสำรองน้ำเพื่อการใช้งานก็สำคัญไม่แพ้กัน ซึ่งก็คือการเลือกขนาดแท็งค์น้ำเพื่อการใช้งานนั่นเอง การเลือกปั๊มและแท็งค์น้ำให้เหมาะสมกับการใช้งาน เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายไปกว่าครึ่ง คลิก เมื่อเราไม่มีการสำรองน้ำให้เพียงพอต่ออัตราการใช้น้ำของเรา อาจจะทำให้น้ำแห้งหรือขาด ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อปั๊มน้ำ ในกรณีปั๊มน้ำไม่มีระบบตัดการทำงานอัตโนมัติ จะทำให้มอเตอร์ทำงานอยู่ตลอดเวลา ทำให้มอเตอร์นั้นไหม้ได้ และหากปั๊มน้ำมีระบบตัดการทำงานอัตโนมัติ ก็จะทำให้อากาศเข้าไปในปั๊มน้ำ ทำให้ดูดน้ำได้อย่างไม่ต่อเนื่อง และต้องมานั่งไล่อากาศออก เพราะแรงดันจะจ่ายไม่สม่ำเสมอ ส่งผลต่อการจ่ายน้ำที่ไม่คงที่นั่นเอง ซึ่งขั้นตอนการไล่อากาศนั้นค่อนข้างยุ่งยากพอสมควร เราจึงควรป้องกันไว้ก่อน ดีกว่ามานั่งแก้ทีหลัง รวมถึงยังมีวิธีการติดตั้งแบบ ” BY PASS ” ซึ่งสำคัญมาก ๆ เพราะ เวลาไฟดับ ปั๊มเสีย จะทำให้เรายังคงใช้น้ำได้เป็นปกติ การต่อปั๊มน้ำแบบ By Pass คลิก อีกครั้ง !! สำหรับสิ่งสำคัญที่เราต้องรู้และคำนึงถึงเพื่อให้ปั๊มน้ำใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด น้ำแรง 100% 1.ทำความรู้จักสเปคปั๊มน้ำของเราให้ดีที่สุด 2.ต้องคำนวณการสำรองน้ำให้เหมาะกับปั๊มน้ำ 3.ไม่ลดท่อ หรือ งอท่อ ในระยะ 30-45 เซนติเมตร เพื่อลดอุปสรรค และ ลดแรงเสียดทานของแรงดันน้ำภายในท่อ เท่านี้ปั๊มน้ำของเราก็จะทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ 100 % รวมถึงประหยัดพลังงานและค่าใช้จ่ายด้วยจ้า ข้อมูลเพิ่มเติม Tel. 02-292-1067-70 Youtube : Leopump ประเทศไทย Line Official : @775ruust Facebook : LEOpumpThailand TikTok : Leopumpthailand ตัวแทนจำหน่าย : https://www.leo.co.th/dealer
- ความแตกต่างและข้อดีข้อเสียไฟ AC-DC
ไฟ AC กับ DC ต่างกันอย่างไร ? และความแตกต่างและข้อดีข้อเสียไฟ AC-DC ไฟฟ้ากระแสตรง (direct current: DC) คือ ไฟฟ้าที่มีทิศทางการไหลเพียงทิศทางเดียวจากขั้วลบของแหล่งกำเนิดไฟฟ้า ผ่านอุปกรณ์ไฟฟ้า แล้วกลับเข้าไปยังขั้วบวกของแหล่งกำเนิดไฟฟ้าอีกครั้ง ไฟฟ้ากระแสสลับ (alternating current: AC) คือ ไฟฟ้าที่มีทิศทางการไหลไปในทางกลับกัน กล่าวคือ กระแส มันไม่มีขั้ว มีทิศทางการไหลที่กลับไปกลับมาอยู่ตลอดเวลา คุณสมบัติของไฟฟ้ากระแสสลับ(AC) 1. สามารถส่งไปในที่ไกลได้ดี กำลังไม่ตก 2. สามารถแปลงแรงดันให้สูงขึ้นหรือต่ำ ลงได้ตามต้องการโดยการใช้หม้อแปลง (Transformer) คุณสมบัติของไฟฟ้ากระแสตรง(DC) 1. กระแสไฟฟ้าไหลไปทิศทางเดียวกันตลอด 2. มีค่าแรงดันหรือแรงเคลื่อนเป็นบวกอยู่เสมอ 3. สามารถเก็บประจุไว้ในเซลล์ หรือแบตเตอรี่ได้ ประโยชน์ของไฟฟ้ากระแสสลับ(AC) 1. ใช้กับระบบแสงสว่างได้ดี 2. ประหยัดค่าใช้จ่าย และผลิตได้ง่าย 3. ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการกำลังมาก ๆ 4. ใช้กับเครื่องเชื่อม 5. ใช้กับเครื่องอำนวยความสะดวกและอุปกรณ์ไฟฟ้าได้เกือบทุกชนิด ประโยชน์ของไฟฟ้ากระแสตรง(DC) 1. ใช้ในการชุบโลหะต่าง ๆ 2. ใช้ในการทดลองทางเคมี 3. ใช้เชื่อมโลหะและตัดแผ่นเหล็ก 4. ทำให้เหล็กมีอำนาจแม่เหล็ก 5. ใช้ในการประจุกระแสไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่ 6. ใช้ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ 7. ใช้เป็นไฟฟ้าเดินทาง เช่น ไฟฉาย ไฟ AC กับ DC ต่างกันอย่างไร ? การที่เราจะเอาไฟบ้านไปชาร์ตมือถือ หรือคอมพิวเตอร์ต่างๆ เราจำเป็นต้องใช้อแดปเตอร์เพื่อแปลงไฟกระแสฟ้าสลับ (AC) ไปเป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ไฟ AC กับ DC ต่างกันอย่างไรนั้น เราอาจจะเห็นบางเคสที่เป็นไฟฟ้า AC เหมือนกันแต่กลับต้องใช้อแดปเตอร์แปลง ซึ่งในส่วนตรงนี้ไม่ได้หมายความว่าเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นเป็นระบบ DC แต่เหตุผลมจากแรงดันไฟฟ้า หรือ voltage ที่ต้องใช้นั้นแตกต่างกัน ไฟฟ้ากระแสตรง และกระแสสลับ ในงาน โซล่าเซลล์ ความแตกต่างและข้อดีข้อเสียไฟ AC-DC วิธีสังเกตุ คือ เวลาเราไปดูฉลากเครื่องใช้ไฟฟ้าถ้ามี เฮิร์ต (Hz) เช่น 50Hz 60Hz ก็คือเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าระบบ AC เพราะระบบ DC จะไม่มีความถี่แบบนี้ ปกติไฟ AC จะมีแรงดันไฟหรือ voltage ที่สูง ตัวอย่างเช่น ไฟบ้านเราจะเป็น 220V ถือว่าเป็นค่าแรงดันที่ค่อนข้างต่ำ บางทีถ้าเราเห็นตามชานเมืองที่มีเสาไฟใหญ่ๆ พวกนี้จะมีแรงดันไฟเป็นหลักหมื่น Voltage และเนื่องด้วยการเชื่อมโยงไฟฟ้าระยะไกลที่มีค่า volt สูง ไม่จำเป็นต้องใช้สายไฟขนาดใหญ่ จึงประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนตรงนี้ได้ ส่วนในระบบไฟฟ้า DC จะใช้ voltage ไม่สูงมาก เช่น 12V 24V 48V และถ้าหากไม่เกิน 30V โดยประมาณ มักจะไม่เกิดอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ แต่ถ้าเป็นระบบใหญ่ๆจะใช้ volt ที่สูงขึ้นมา เช่น 300-600V ซึ่งการติดตั้งจะต้องให้ช่างผู้ชำนาญทำ เพราะกระแส DC ที่มีค่า voltage สูงนั้น อันตรายเป็นอย่างมาก ซึ่งในระบบโซล่าเซลล์ขนาดเล็กนั้น เรามักจะใช้ voltage ที่ต่ำ อย่าง 12V 24V เท่านั้น ถ้าหากเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นกินไฟเท่ากัน แต่ใช้แรงดันไฟ voltage ที่ต่ำ นั่นหมายความว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านั้นจะกินกระแสไฟหรือ Ampere ที่มากแทน ผลที่ตามมา คือ อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆเหล่านั้นจะต้องรับกระแสสูงๆได้ ทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าเหล่านั้นมีราคาที่แพงมากขึ้นตามไป หรือการที่เราออกแบบระบบที่ใช้ค่าแรงดันไฟฟ้า voltage ต่ำ จะยิ่งทำให้ราคาอุปกรณ์ต่างๆ เหล่านั้นสูงขึ้นนั่นเอง dummies ชนิดแผงโซล่าเซลล์ เลือกแบบไหนดี? โมโน / โพลี /หรือ อะมอร์ฟัส คลิก การออกแบบระบบโซล่าเซลล์เพื่อใช้ทั้งกลางวันและกลางคืน คลิก สอนการคำนวณไฟฟ้าและจำนวนแผงโซล่าเซลล์ ( Solar Cell Calculation ) คลิก ระบบโซลาร์แบบ On Grid กับ Off Grid ต่างกันอย่างไร? คลิก การเลือกตัว Inverter ปั๊มน้ำ , แผงโซล่าเซลล์และการเผื่อกำลังไฟฟ้า คลิก ข้อมูลเพิ่มเติม Tel. 02-292-1067-70 Youtube : Leopump ประเทศไทย Line Official : @775ruust Facebook : LEOpumpThailand TikTok : Leopumpthailand ตัวแทนจำหน่าย : https://www.leo.co.th/dealer
- Water Hammer คืออะไร?
Water Hammer คืออะไร? Water Hammer หรือ ค้อนน้ำ หนึ่งในศัพท์เรื่องน้ำในบ้านที่ผู้ใช้น้ำควรรู้ไว้ เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดขึ้นและรู้วิธีรับมือเบื้องต้น Water Hammer เกิดจากการที่น้ำในท่อถูกปิดกะทันหัน ทำให้แรงดันในท่อเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน เปรียบเทียบให้เห็นภาพง่าย ๆ คือ สมมติว่าเปรียบคนเป็นน้ำ และท่อเป็นทางเดิน หากทุกคนเดินตามกันไปเรื่อย ๆ ก็จะไม่มีปัญหาอะไร แต่หากอยู่ดี ๆ เกิดมีสิ่งของมาปิดทาง ขวางทางไว้ทำให้คนหยุดเดินแบบกระทันหัน คนที่เดินตามๆกันมาก็จะชนกัน ด้วยแรงส่งจากการเดินจึงเกิดแรงปะทะเมื่อหยุดนิ่งเฉียบพลัน ท่อจึงเกิดจากสั่นไหว ไป-มา และเกิดเสียงดันขึ้นนั่นเอง ซึ่ง Water hammer ก็คือ แรงที่สามารถสร้างความเสียหายอันเกี่ยวเนื่องกับความเป็นของไหลอัดตัวไม่ได้ของน้ำ ปรากฏการณ์ดังกล่าวมักจะเกิดขึ้นเมื่อเติมน้ำในท่อเปล่าหรือการปิดวาล์วโดยกระทันหันอย่างรวดเร็ว โดยจะทำให้เกิดเสียงดังในท่อหรืออาจจะทำให้เกิดความเสียหายต่อท่อ วาล์ว ฯลฯ การเพิ่มแรงดันเฉียบพลัน จะเกิดขึ้นเมื่อน้ำเปลี่ยนโมเมนตัมอย่างรวดเร็วในระบบปิดเนื่องจากน้ำเป็นของไหลที่อัดตัวไม่ได้ พลังงานของน้ำที่เคลื่อนที่ไม่มีที่จะไป หากวาล์วถูกปิดโดยกะทันหัน นี่สามารถทำให้เกิดคลื่นแรงดันที่กระทำต่อท่อ ทำให้เกิดเสียงดังหรือในบางกรณีทำให้ท่อเสียหายได้เช่นกัน ซึ่งสำหรับอาคารสูงนั้นเราจะเห็นว่า water hammer จะเกิดขึ้นบ่อย เนื่องจากความแตกต่างของความสูงซึ่งทำให้จำเป็นต้องใช้แรงดันและความเร็วที่สูงในช่วงการเริ่มต้นสร้างแรงดัน ในการใช้งานสำหรับอาคารเชิงพาณิชย์ ซึ่งสำหรับการต่อปั๊มน้ำอาคารสูง " คลิก " Water Hammer กลายเป็นความเสี่ยงเมื่อวาล์วถูกปิดอย่างรวดเร็วในระบบท่อ non-return valve จึงมักจะถูกนำมาใช้เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้คลื่นแรงดันไปถึงปั๊มเพื่อช่วยลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดความเสียหายต่อเครื่องสูบน้ำ ในวาล์วโซลินอยด์บางชนิด ระยะเวลาในการปิดสามารถยืดให้นานขึ้นได้จึงสามารถลดผลกระทบของ Water Hammer ได้ และในการใช้งานที่จำเป็นต้องมีการปิดวาล์วอย่างรวดเร็วก็สามารถติดตั้งอุปกรณ์ดูดซับแรงกระแทก (shock absorber) เช่น ถังไดอะแฟรม ก็จะสามารถช่วยลดผลกระทบจากการเกิดค้อนน้ำ (water hammering) ได้เช่นกัน การเพิ่มแรงดันแบบช้าๆ การเกิดค้อนน้ำ (Water hammering) เป็นความเสี่ยงในช่วงการเติมน้ำในระบบท่อที่ยังไม่มีน้ำเช่นกัน Water Hammer เกิดขึ้นเมื่อท่อเต็มและของไหลหยุดการเคลื่อนไหวโดยฉับพลัน เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิด Water Hammer ดังกล่าวจึงควรเติมน้ำในระบบอย่างช้าๆ และค่อยๆ ให้แรงดันในระบบเพิ่มขึ้นในช่วงระยะเวลาที่นานขึ้น ระบบเพิ่มแรงดันบางระบบจะมีฟังก์ชันเพิ่มแรงดันและสามารถตั้งโปรแกรมให้ลดความเสี่ยงของการเกิด Water Hammer ได้ ข้อมูลเพิ่มเติม Tel. 02-292-1067-70 Youtube : Leopump ประเทศไทย Line Official : @775ruust Facebook : LEOpumpThailand
- ชนิดและวิธีการสตาร์ทมอเตอร์ DoL / Star Delta
เริ่มจากการทำงานของปั๊มน้ำจำเป็นต้องใช้พลังงานไฟฟ้าเพื่อทำให้มอเตอร์ทำงาน สำหรับ ชนิดและวิธีการสตาร์ทมอเตอร์ นั้น หลักๆ ของการสตาร์ทมอเตอร์เพิ่มเริ่มทำงานนั้นก็จะมีอยู่ 3 แบบด้วยกัน คือ แบบ Direct on-line (DOL), Star-Delta และ Soft Start นั่นเอง เพื่อลดการเกิดปัญหาต่างๆที่ตามมาภายหลัง เช่น การเกิด Water Hammer ซึ่งอะไรที่ทำให้เกิด Water Hammer ในระบบท่อ และวิธีไหนที่สามารถช่วยป้องกันการเกิดไปดูกันเลยจ้า 1. Direct On-line Start-up (DOL) : วิธีนี้เป็นการต่อสายไฟ 3 เฟส เข้ากับมอเตอร์โดยตรง ซึ่งการสตาร์ทอัพแบบนี้จะส่งผลให้ในช่วงแรกมอเตอร์จะกินปริมาณกระแสไฟฟ้าสูงถึง 6 เท่าของปริมาณปกติ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ค่าไฟสูงขึ้นได้ นอกจากนั้นอีกหนึ่งปัญหาหลักของการสตาร์ทอัพแบบนี้คือ Free wheel start up motor หรือ การหยุดมอเตอร์โดยไม่มีการควบคุมความเร็วหรือค่าแรงบิดของมอเตอร์ ส่งผลให้เกิดการกระชากของแรงดันภายในระบบท่อ (Water Surge) และทำให้เกิด Water Hammer ในเวลาต่อมา ซึ่งสามารถทำให้เกิดความเสียหายในอุปกรณ์ต่างๆรวมถึงตัวปั๊มน้ำได้ 2. Star-Delta Start-up : วิธีสตาร์ทแบบที่ 2 นี้เป็นการต่อไฟโดยให้มอเตอร์เริ่มสตาร์ทแบบ Star ก่อนแล้วค่อยเข้า Delta ซึ่งสามารถลดการกินปริมาณกระแสไฟฟ้าลงจาก DOL ได้ถึง 3 เท่า ทำให้ลดค่าไฟได้ในระดับนึง แต่ในทางกลับกันวิธีสตาร์ทแบบ Star-Delta นี้จะเกิดปัญหาในช่วงสตาร์ทอัพแทน เนื่องจากการสตาร์ทแบบนี้เป็นการลดค่าแรงดันไฟฟ้าในระบบลงประมาณ 42% ส่งผลให้ค่าแรงบิดที่มอเตอร์และค่าแรงบิดของโหลดลดลงไปด้วย จึงเป็นผลทำให้มอเตอร์ไม่สามารถสตาร์ทได้ 3. Soft Starter : เป็นวิธีการสตาร์ทอัพที่สามารถป้องกันปัญหาได้ทั้งหมด ทั้งในเรื่อง Water Hammer หรือแม้กระทั่งการที่แรงบิดไม่พอที่จะสตาร์ทใน Star-Delta เพราะอาศัยหลักการ Voltage Ramp Up ซึ่งก็ คือ การสตาร์ทและหยุดมอเตอร์โดยการค่อยๆ เพิ่ม/ลด ความเร็วรอบไปพร้อมกับค่าแรงบิดของมอเตอร์ ซึ่งเป็นการลดกระแสไฟฟ้า ป้องกันการกระชากของแรงดันในระบบท่อ รวมถึงลดปัญหาเนื่องมาจากค่าแรงบิดไม่พอได้อีกด้วย ในการเลือกขนาดของ Soft start สำหรับงานปั๊มน้ำนั้น สามารถเลือกขนาดเท่ากับขนาดของมอเตอร์ได้เลย เนื่องจาก Load มีค่า moment of inertia ไม่สูงมาก แต่ถ้ามีการ Start และ Stop มากกว่า 10 ครั้งต่อชั่วโมง ควรเลือกขนาดของตัว Soft start ให้ใหญ่กว่าเดิม 1 ขนาด หลักๆในวิธีของการต่อไฟฟ้าเพื่อการทำงานของปั๊มน้ำก็จะเป็นประมาณนี้นะครับ สำหรับในส่วนของ ปั๊มน้ำลีโอ นั้น ปั๊มที่จะใช้วิธีการต่อแบบ Star-Delta นั้น จะเป็นปั๊มที่ค่อนข้างใหญ่ เช่น มีขนาด 7.5 HP ขึ้นไปและเป็นไฟ 3 เฟส รวมถึงราคาของการทำตู้ไฟและปั๊มน้ำก็จะสูงกว่าแบบการต่อแบบธรรมดาระดับนึงเลยทีเดียว ทั้งนี้เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการเกิดความเสียหายโดย Water Hammer และความเสียหายอื่นๆอีกด้วยจ้า ข้อมูลเพิ่มเติม Tel. 02-292-1067-70 Youtube : Leopump ประเทศไทย Line Official : @775ruust Facebook : LEOpumpThailand
- ระบบไฟฟ้ามีกี่แบบ มาทำความรู้จักกัน
ปัจจุบันระบบไฟฟ้าในบ้านนำมาซึ่งความสะดวกสบาย ไม่ว่าจะพัดลม แอร์ หรือโทรทัศน์ ต่างก็ต้องพึ่งพาไฟฟ้าทั้งสิ้น เราจึงควรมีความรู้เกี่ยวกับระบบไฟฟ้าเบื้องต้นว่า ระบบไฟฟ้าในบ้านมีกี่แบบ และระบบไฟฟ้าที่ต้องใช้ในบ้านเป็นแบบใด ระบบไฟฟ้าคืออะไร ? ระบบไฟฟ้ามีกี่แบบ ? ระบบไฟฟ้า คือ การส่งจ่ายกระแสไฟฟ้าจากแหล่งกำเนิดไปยังผู้ใช้งานตามประเภทของผู้ใช้ โดยเป็นการส่งจากสถานีไฟฟ้าผ่านสายไฟฟ้าแรงสูงไปยังสถานีไฟฟ้าย่อย แล้วส่งต่อมาสู่หม้อแปลงไฟฟ้าซึ่งทำให้กระแสไฟฟ้าต่ำลง จากนั้นจึงส่งมายังบ้านพักผู้อาศัย สำนักงาน หรือโรงงานอุตสาหกรรม โดยระบบไฟฟ้าที่ส่งไปยังบ้านเรือนทั่วไปคือระบบไฟฟ้าแรงดันต่ำ การใช้งานของระบบไฟฟ้าการไฟฟ้าฯ จะพิจารณาตามความเหมาะสมตามความต้องการของผู้ใช้เป็นหลักว่าจะใช้ระบบใด โดยจะพิจารณาจากปัจจัยหลัก 2 ประการ นั่นก็คือปริมาณการใช้ไฟฟ้า และประเภทหรือจำนวนของเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ระบบไฟฟ้าแบ่งเป็นกี่แบบ ? คำถามที่ว่า ระบบไฟฟ้ามีกี่แบบนั้น : ระบบไฟฟ้าแบ่งออกเป็นทั้งหมด 2 แบบ ได้แก่ระบบไฟฟ้า 1 เฟสและระบบไฟฟ้า 3 เฟสทั้ง 2 แบบนี้มีความแตกต่างกันในเรื่องของแรงดันไฟฟ้า ซึ่งความแตกต่างนี้ทำให้เกิดการใช้งานของระบบไฟฟ้าที่ต่างกันออกไป ระบบไฟฟ้า 1 เฟส (Single Phase หรือ 1 Phase 2 Wire) คือ ระบบไฟฟ้าที่มีสายไฟฟ้าจำนวน 2 เส้น จะเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ และมีแรงดันไฟฟ้าอยู่ที่ 220-230 โวลต์ ความถี่อยู่ที่ 50Hz โดย อธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ คือเป็นสายไฟที่ไฟฟ้าเข้า 2 เส้น โดยสายหนึ่งจะมีสายที่มีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่ตลอดเวลา เรียกว่า “สายไลน์ (L)” และสายอีกเส้นที่เดินไว้เฉย ๆ ไม่มีกระแสไฟฟ้าไหล เรียกกว่า “สายนิวตรอน (N)” หากให้ลองนึกภาพถึงเต้าเสียบปลั๊กไฟ 1 เต้าที่ในบ้านจะมีเพียง 2 ช่อง ถ้าใช้ไขควงวัดไฟฟ้าไปเสียบที่รูใดรูหนึ่ง จะเห็นว่าไม่มีปฏิกิริยาอะไรเกิดขึ้นเหมือนไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน แต่หากเสียบเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านแล้วเปิดใช้งานจะพบว่ามีกระแสไฟไหลผ่านตามปกติ ทั้งนี้เป็นเพราะการใช้งานจะต้องเสียบให้ครบ 2 ช่อง และภายในสายไฟก็มีสายที่ใช้งานร่วมกันอีก 2 เส้น ทำให้กระแสไฟนั้นครบวงจร หรือบางแห่งที่เห็นปลั๊กไฟมี 3 ช่องนั้นยังเป็นระบบไฟฟ้า แบบ 1 เฟสเหมือนกันแต่ช่องที่เพิ่มขึ้นมานั้นเป็นช่องที่ต่อกับสายดิน (ground) เพื่อให้กระแสไฟฟ้าไหลลงดินเวลาเกิดไฟรั่วเป็นการเพิ่มความปลอดภัย ข้อดีของการติดตั้งระบบไฟฟ้าแบบ 1 เฟส มีการติดตั้งที่สะดวกและขอมาติดตั้งได้ง่าย งบค่าใช้จ่ายในการติดตั้งน้อย แต่ถ้ามองในระยะยาวแล้วไม่ค่อยคุ้มค่าเพราะค่อนข้างเปลือง แต่อย่างไรก็ตาม ระบบไฟฟ้าแบบเฟส 1 นั้นเหมาะกับการใช้งานกับครัวเรือน เพราะมีการจ่ายไฟที่เหมาะสมที่สุด ระบบไฟฟ้า 3 เฟส (3 Phase 4 Wire) เป็นระบบไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟส 4 สาย โดยที่ 3 สายจะเป็นสายที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน อธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ คือสายไฟฟ้าเข้า 4 เส้นจะมีสายที่กระแสไฟฟ้าไหลอยู่ตลอดเวลา เรียกว่า “สายไลน์ (L)” จำนวน 3 เส้น และอีกสายที่เดินไว้เฉย ๆ ไม่มีกระแสไฟฟ้าไหล เรียกสายนี้ว่า “สายนิวตรอน (N)” จำนวน 1 เส้น หากวัดแรงดันของสายไลน์กับสายไลน์ แรงดันของไฟฟ้าจะอยู่ที่ 380-400 โวลต์ แต่ถ้าหากวัดแรงดันไฟฟ้าระหว่างสายไลน์กับสายนิวตรอน แรงดันของไฟฟ้าจะอยู่ที่ 230-250 โวลต์ การใช้ไฟฟ้าเฟส 3 นั้นเหมาะที่จะใช้กับโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องการการใช้ไฟฟ้ามาก แต่ถ้านำระบบไฟฟ้าเฟส 3 มาใช้กับบ้านเรือนจะไม่ใช่การใช้ไฟฟ้าทั้ง 3 เฟสกับอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านแต่ละชิ้นโดยตรง แต่จะเป็นการใช้ไฟฟ้า 3 เฟสนั้นมาแบ่งใช้แบบระบบไฟฟ้า 1 เฟส 3 ชุด ทำให้ช่วยประหยัดค่าใช้ไฟฟ้าได้ ข้อดีของการติดตั้งระบบไฟฟ้าเฟส 3 แม้จะขอมาติดตั้งได้ยาก และมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ค่อนข้างสูง เพราะต้องจ่ายค่าประกันไฟฟ้าและค่าติดตั้ง แต่ถ้าหากมองในระยะยาว การติดตั้งระบบไฟฟ้าเฟส 3 จะช่วยประหยัดค่าไฟได้มากกว่าแบบเฟส 1 พอสมควร Tips: เรื่องของระบบไฟฟ้าที่หลายคนเข้าใจผิด หลายคนมักสงสัยว่าทำไมระบบไฟฟ้ามีเฟส 1 แล้วไปเฟส 3เลย? มีระบบไฟฟ้าเฟส 2 หรือไม่? คำตอบ คือ ไม่มีสิ่งที่เรียกที่ระบบไฟฟ้าเฟส 2 เพราะระบบไฟฟ้าทั้งหมดจะมีแค่เฟส 1 และเฟส 3 เท่านั้น โซล่าเซลล์แบบไหนที่เหมาะกับระบบไฟฟ้าบ้านที่ใช้ ? หลาย ๆ ท่านเมื่อต้องการติดระบบไฟฟ้าในบ้าน หากจ้างช่างมาเป็นผู้ติดตั้งระบบไฟ หรือมีการซื้อบ้านสำเร็จรูป บ้านเปล่านั้นก็จะได้รับการติดตั้งระบบไฟฟ้าเฟส 1 โดยอัตโนมัติ เพราะเรื่องการขอมาติดตั้งนั้นง่ายและค่าใช้จ่ายของอุปกรณ์ก็ไม่สูงมากเกินไป ดังนั้นหากคุณมีความรู้ของระบบไฟฟ้า และเข้าใจความต้องการของตัวเองก็จะทำให้ประหยัดค่าไฟได้มากขึ้นอีกด้วย ทั้งนี้ก่อนการติดตั้งระบบไฟฟ้าคุณจะต้องพิจารณาการใช้ไฟฟ้าของตัวเองและดูขนาดพื้นที่ของบ้าน หากเป็นบ้านขนาดเล็ก การใช้ระบบไฟฟ้าเฟส 1 นั้นก็เพียงพอแล้ว และ การใช้โซล่าเซลล์กับระบบไฟฟ้าบ้านที่ดี คือ โซล่าเซลล์แบบออนกริด ที่สามารถใช้ไฟฟ้าได้อย่างค่อนข้างเสถียร เพราะมีกระแสไฟฟ้าจากสายส่งการไฟฟ้าร่วมด้วย ความแตกต่างและข้อดีข้อเสียไฟ AC-DC คลิก การออกแบบระบบโซล่าเซลล์เพื่อใช้ทั้งกลางวันและกลางคืน คลิก สอนการคำนวณไฟฟ้าและจำนวนแผงโซล่าเซลล์ ( Solar Cell Calculation ) คลิก ระบบโซลาร์แบบ On Grid กับ Off Grid ต่างกันอย่างไร? คลิก ข้อมูลเพิ่มเติม Tel. 02-292-1067-70 Youtube : Leopump ประเทศไทย Line Official : @775ruust Facebook : LEOpumpThailand
- บูสเตอร์ปั๊ม (Booster Pump) และ ทรานส์เฟอร์ปั๊ม (Transfer Pump) เป็นอย่างไร ?
Transfer Pump กับหลักการทำงานของระบบที่ควรรู้ ปัญหาคลาสสิคที่เจอกันบ่อยไม่ว่าจะเป็น ... น้ำไม่แรง น้ำไหลเบา น้ำขาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็น ในอพาร์ตเมน โรงแรม โรงงาน อาคารสำนักงาน และอื่นๆ การจะติดตั้งปั๊มน้ำหรือการเลือกใช้อุปกรณ์ปั๊มน้ำต่างๆ นั้นสำคัญมาก เราจะต้องทำความรู้จักประเภทและการเลือกใช้ปั๊มน้ำกันเสียก่อน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาเกี่ยวกับการใช้น้ำต่างๆ เหล่านี้ที่จะเกิดขึ้น การสูบน้ำจากต้นทางไปปลายทางอาศัยความต่างระดับของระดับน้ำนำมาควบคุมการทำงาน ส่งน้ำจากถังน้ำด้านล่างขึ้นไปถังน้ำด้านบนทรานเฟอร์ปั๊มเป็นการควบคุมใช้ปั๊ม 1 ตัว หรือ 2 ตัวก็ได้ แต่ถ้าใช้ปั๊ม 2 ตัว ตัวคอนโทรลเลอร์จะต้องมี Function สลับการทำงานของปั๊มน้ำด้วย โดยส่วนมากในชุด Transfer Pump จะใช้ปั๊มน้ำ 2 ตัว สำหรับอาคารขนาดเล็ก หรือใช้ปั๊มน้ำ 3 ตัว สำหรับอาคารขนาดใหญ่และให้ปั๊มน้ำสลับกันทำงานเพื่อไม่ให้ปั๊มทำงานหนักจนเกินไป หรือกรณีมีตัวใดตัวนึงใช้งานไม่ได้ ปั๊มน้ำส่วนที่เหลือก็ยังสามารถจ่ายน้ำได้อยู่ หรือให้ปั๊มทำงานเสริมกัน ในกรณีที่ความต้องการใช้น้ำของอาคารมีมากจนปั๊มตัวแรกจ่ายน้ำไม่ทัน ปั๊มตัวที่สองจะได้ทำงานช่วย ซึ่งตัวที่ควบคุมการทำงานของชุด ทรานเฟอร์ปั๊ม มักใช้ลูกลอยไฟฟ้าหรือก้านอิเล็กโตรดในการตัดต่อการทำงานของปั๊ม เรามาดูกันว่า บูสเตอร์ปั๊ม (Booster Pump) และ ทรานส์เฟอร์ปั๊ม นั้นเป็นอย่างไรกันบ้าง คุณลักษณะเด่น 1. สามารถนำไปติดตั้งเข้ากับท่อจ่ายน้ำขึ้นอาคารได้เลย 2. ลดเวลาในการติดตั้งอุปกรณ์ ส่วนประกอบหลักของชุด transfer 1. ปั๊มน้ำ 2. Control panel 3. Discharge header 4. Check valve 5. Gate valve 6. Float less level switch 7. Pressure gauge 8. Base Plate ข้อควรรู้ในการเลือกปั๊มน้ำสำหรับระบบ Transfer Pump 1.ถังเก็บน้ำขนาดกี่ลิตร/ใบ 2.ขนาดท่อ Main ทางส่ง (กรณีติดตั้งใหม่ สามารถให้ทางผู้จัดจำหน่ายแนะนำขนาดของท่อได้) 3.ตึกจำนวนกี่ชั้น (ถังเก็บน้ำอยู่ชั้นไหน) 4.ความยาวแนวราบไปถึงถังเก็บน้ำ ซึ่งการควบคุมปั๊มน้ำแบบ Transfer Pump นิยมใช้งานอาคารสูง, อพาร์ทเม้นท์, คอนโดมิเนียม, โรงงานอุตสาหกรรม และในภาคการเกษตร เป็นต้น โดยปกติอาคารที่มีระดับความสูงตั้งแต่ 5 ชั้นขึ้นไป และในแต่ละชั้นมีจุดใช้น้ำจำนวนมากมักมีความจำเป็นที่ต้องใช้ชุดปั๊มน้ำเสริมแรงดัน (Booster Pump) ทั้ง 2 ชุดประกอบกัน โดยจะใช้ Transfer Pump ในการส่งหรือเติมน้ำขึ้นไปเก็บบนชั้นดาดฟ้าที่มีถังเก็บน้ำรองรับอยู่ จากนั้นก็ใช้ Booster Pump ในการกระจายน้ำสู่ห้องต่าง ๆ ภายในอาคาร น้ำที่ไปใช้ในอาคารจะมีความแรงของน้ำที่คงที่สม่ำเสมอ วิธีการดูแลบำรุงรักษาสามารถสังเกตุและเช็คค่าต่างๆ ได้ดังนี้ 1. การทำงานของ Controller ว่าทำงานผิดปกติหรือไม่เช่น 2. ทุกครั้งที่ตรวจเช็ค หลอดไฟหน้าตู้จะต้องมีไฟโชว์ตลอด หรือไฟ Overload แสดงว่าปั๊มมีปัญหา ให้รีบทำการตรวจเช็คโดยด่วน 3. ฟังเสียงมอเตอร์ว่ามีเสียงผิดปกติหรือไม่ 4. สังเกต Seal ที่คอปั๊มว่ามีน้ำรั่วซึมหรือไม่ เพื่อให้ปั๊มมีอายุการใช้งานได้ยาวนานขึ้น และไม่มีปัญหาการส่งน้ำเกิดขึ้น เราควรตรวจเช็คระบบทุกๆ 6 เดือน Booster Pump เป็นอย่างไร ? Booster Pump เป็นระบบหนึ่งของเครื่องสูบน้ำ เพื่อใช้สำหรับเสริมแรงดันน้ำ หรือก็คือเพื่อเพิ่มแรงดันในระบบท่อ ซึ่งจะช่วยให้การไหลของน้ำมีความสม่ำเสมอเมื่อเปิดใช้งานนั่นเอง ซึ่งเหมาะกับการใช้งานในครัวเรือน ที่พักอาศัยที่จำเป็นต้องใช้งานเป็นจำนวนมาก อาคารและโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ โดยหลักการทำงานของบูสเตอร์ปั๊ม คือ เมื่อใดที่เราเปิดใช้งานน้ำ น้ำในท่อที่ไหลออกไปจะทำให้แรงดันในท่อลดลงจนถึงระดับแรงดันที่ได้ตั้งค่าไว้ เมื่อนั้นสวิตช์แรงดัน ( Pressure Switch ) ก็จะสั่งให้ปั๊มน้ำทำงานเพื่อจ่ายน้ำเข้าสู่ระบบ แรงดันก็จะค่อยๆเพิ่มขึ้นจนถึงจุดที่ตั้งค่าสวิตช์แรงดันไว้เพื่อให้ปั๊มน้ำหยุดทำงาน เมื่อแรงดันถึงที่ตั้งไว้แล้ว วนเวียนเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ซึ่งบางกรณีที่พักอาศัยหรือโรงงานอุตสาหกรรมที่มีความต้องการใช้น้ำเป็นจำนวนมาก อาจจะออกแบบระบบให้มีปั๊มน้ำ 2 ตัว เพื่อทำงานร่วมกันหรือเสริมแรงกัน โดยปั๊มอีกตัวจะทำงานเสริมเมื่อปั๊มน้ำตัวแรกเพิ่มน้ำเพื่อเติมแรงดันไม่ทัน ซึ่งโดยมากในชุดบูสเตอร์จะใช้ ถังแรงดันไดอะแฟรม ( Diaphragm Pressure Tank ) ประกอบด้วยในชุด โดยมีหน้าที่หน่วงการทำงานของปั๊มน้ำ ทำให้ยืดอายุการใช้งานของปั๊มน้ำให้ยาวนานขึ้น ข้อมูลเพิ่มเติม Tel. 02-292-1067-70 Youtube : Leopump ประเทศไทย Line Official : @775ruust Facebook : LEOpumpThailand
- Horizontal Split Case คือปั๊มอะไร และหน้าตาเป็นอย่างไร?
จากที่ทางเราได้พูดถึงปั๊มหอยโข่งในหลากหลายประเภทแล้ว ไม่ว่าจะเป็น End-suction , Submersible pump และ Self priming ยังมีปั๊มอีกประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมในแวดวงอุตสาหกรรมบ้านเราหรือก็คือ Horizontal Split Case Pump นั่นเอง ซึ่งปั๊มประเภทนี้จัดเป็นอีกหนึ่งประเภทย่อยของปั๊มหอยโข่งด้วยเช่นกัน แต่ตัวเรือนปั๊มจะมีความพิเศษที่ตัวเรือนถูกแยกออกเป็น 2 ห้อง ทั้งนี้เพื่อรองรับปริมาณน้ำที่มากขึ้นกว่าปั๊มหอยโข่งแบบทั่วไปนั่นเอง ต่อไปนี้เราจะมาดูกันว่า Horizontal Split Case คือปั๊มอะไร และหน้าตาเป็นอย่างไร ? ปั๊มสปลิทเคส ( Horizontal Split-Case) แปลตรงตัว คือ เรือนปั๊มที่ถูกแบ่งในแนวนอน เป้นเรือนด้านบนและเรือนด้านล่าง ไม่เหมือนปั๊ม End-Suction ที่เปิดฝาหน้าและฝาหลัง ปั๊มสปลิทเคสมีชื่อเรียกอีกชื่อนึงว่า Double End Suction Centrifugal Pump เนื่องจากใบพัดที่ดูดทั้งสองด้านไม่เหมือนใบพัดทั่วไป หรือที่บางครั้งเราเรียกกันว่าปั๊มหอยทากนั่นเอง ใบพัดที่ดูดทั้ง 2 ทางนั้นจะวางอยู่ตรงกลางตัวเรือนปั๊ม โดยมีลูกปืนรับแรงอยุ่ที่ปลายเพลาทั้ง 2 ฝั่ง ข้อดีของปั๊ม Split Case ที่เหนือกว่าปั๊ม End-Suction 1. อัตราการส่งไกล และปริมาณการส่งน้ำของปั๊ม Split Case จะสูงกว่า End-Suction มาก โดยสามารถสามารถส่งน้ำได้สูงสุดที่ 46,000 ลูกบาศก์เมตร ต่อชั่วโมง และส่งไกลสูงสุดได้ถึง 225 เมตร เหมาะสำหรับงานดับเพลิง ระบบชลประทาน และระบบที่ใช้น้ำปริมาณสูง 2. การซ่อมบำรุงของปั๊ม Split Case นั้นสะดวกมากกว่า เพราะตัวเรือนปั๊มสามรถยกออกทางด้านบนได้เลย โดยไม่ต้องไปยุ่งกับท่อใดๆ แต่ปั๊ม End-Suction นั้นจะมีแบบเปิดฝาด้านหน้า หรือด้านหลัง ถ้าหากเราจะรื้อปั๊มออกมาซ่อมบำรุง จำเป็นต้องทำการเคลื่อนย้ายท่อเสียก่อน 3. เนื่องด้วยตัวเรือนที่มีความพิเศษจึงทำให้ปั๊ม Split case นี้มีจุดเด่นในเรื่องของความสมดุล (Balance) ที่มากขึ้นด้วยการออกแบบ Between-the-bearings pump หรือก็คือการใส่ลูกปืนประกบทั้ง 2 ด้านของใบพัดเพื่อเพิ่มความสมดุลของเพลาที่รองรับน้ำหนักของใบพัดDouble suction impeller เป็นความพิเศษอีกหนึ่งอย่างของปั๊มประเภทนี้ ด้วยการออกแบบลักษณะใบพัดแบบดูดสองทาง Double suction ทำให้ตัวเพลามีความสมดุลมากขึ้น เพื่อรองรับการใช้ลูกปืนถึง 2 ตลับและทำให้ปั๊มไม่รับภาระของ Load มากเหมือนปั๊มหอยโข่งนั่นเอง 4. การที่ปั๊ม Split Case นั้นมีใบพัดที่อยู่ตรงกลางระหว่างลูกปืนนั้น ทำให้ปั๊มสามารถรับแรงสั่นสะเทือนได้มาก เนื่องจากมีลูกปืนคอยซัพพอร์ทแรงสั่นสะเทือนอยู่ที่ปลายเพลาทั้งสองด้านนั่นเอง ข้อด้อยของปั๊ม Split Case 1. ปั๊ม Split Case นั้นมีราคาค่อนข้างสูง แต่สำหรับค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาปั๊มระยะยาวนั้น ปั๊ม Split Case จะคุ้มค่ากว่าปั๊ม End-Suction 2. ปั๊ม Split Case มีรูปร่างที่อ้วนและใหญ่ จึงต้องการใช้พื้นที่ในการติดตั้งมากกว่าปั๊ม End-Suction “Horizontal split case“ เมื่อประกอบรวมแล้ว จะส่งพลังงาน และทำหน้าที่ได้อย่าง สมบูรณ์ และเป็นเครื่องสูบน้ำดับเพลิงชนิด Horizontal split case pump เครื่องสูบน้ำชนิดนี้เหมาะสำหรับปริมาณการสูบน้ำน้อยไปจนถึงปริมาณสูบน้ำมาก และควรเลือกใช้ในกรณีที่ระดับน้ำในบ่อพักน้ำอยู่สูงกว่าตัวปั๊ม ในกรณีที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ให้ติดตั้ง priming tank เพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องสูบน้ำดับเพลิงสามารถสูบน้ำได้ตลอดเวลา ข้อมูลเพิ่มเติม Tel. 02-292-1067-70 Youtube : Leopump ประเทศไทย Line Official : @775ruust Facebook : LEOpumpThailand